Bitcoin Addict เปลี่ยนเว็บไซต์ใหม่เป็น www.bitcoinaddict.com
Polkadot เป็นบล็อคเชนที่มีจุดเด่นเรื่องการทำงานที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างบล็อคเชนได้ (หรือที่เรียกว่า Interoperability) ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากการมีอยู่ของบล็อคเชนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Liquidity หรือการสื่อสารที่ทำได้แบบมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูง วิธีการที่ Polkadot ใช้จะเรียกว่าเป็นบล็อคเชน Layer 0 ซึ่งมีหลักการคือเป็นโครงสร้างที่สามารถให้บล็อคเชน Layer 1 มาสร้าง On top ได้
Polkadot ถูกก่อตั้งขึ้นโดย Dr. Gavin Wood (อดีตผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum), Robert Habermeier และ Peter Czaban ในปี 2016 ซึ่ง Network ของ Polkadot แบ่งเป็นสองส่วนหลัก คือ Relay chain และ Parachain ซึ่งเหรียญ DOT นั้นเป็นหัวใจสำคัญของทั้งสองส่วนดังกล่าว ดังนั้นก่อนจะไปเจาะลึกว่าเหรียญ DOT นั้นมี Use Case อะไรบ้าง เราควรจะมีความเข้าใจในเบื่องต้นเกี่ยวกับโครงสร้างของ Polkadot กันสักเล็กน้อย
ในส่วนของ Relay chain จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางด้านความปลอดภัยของ Polkadot Ecosystem (คล้ายกับ Cosmos Hub ของ Cosmos Ecosystem) ซึ่งมีระบบแบบ Nominated Proof-of-Stake (NPoS) คอยตรวจสอบธุรกรรมให้กับ Parachain ทั้งหมดภายใน Network
Parachain ก็คือบล็อคเชน Layer 1 ต่างๆที่สร้างบน Polkadot Ecosystem โดยในแต่ละ Parachain จะมี Collator Nodes ของตัวเองที่จะคอยรวบรวมข้อมูลธุรกรรมเพื่อส่งไปที่ Relay Chain อีกครั้งเพื่อใช้ Validator Nodes กลางบน Relay Chain ในการตรวจสอบผลธุรกรรมต่างๆ ด้วยหลักการของ Shared Security นอกจาก Parachain แล้วยังมี Parathread ที่เป็นทางเลือกสำหรับโปรเจ็กต์ขนาดเล็กที่ไม่ได้มีความถี่ในการตรวจสอบผลธุรกรรมที่เยอะหรือถี่มาก
DOT เป็น Deflationary Token ที่มีอัตราการเฟ้อกำหนดเริ่มต้นไว้ที่ประมาณ 10% ต่อปี (สามารถเปลี่ยนแปลงได้ภายหลังโดย Governance) โดยเหรียญ DOT ที่ผลิตขึ้นมาในทุกๆปีนั้นมีจุดประสงค์หลักเพื่อใช้เป็น Incentive ในการ Stake และอีกส่วนก็จะนำไปเก็บสะสมใน Treasury เพื่อใช้งานการดำเนินงานและการสร้างการเติบโตให้กับ Polkadot Ecosystem
เมื่อช่วงต้นปี 2023 ที่ผ่านมา ทาง Web3 Foundation ได้ประกาศว่าเหรียญ DOT ได้จะค่อยๆถูกเปลี่ยนแปลงจากการเป็น Security ให้กลายเป็น Software ในที่สุด โดยเน้นปฏิบัติตามกฏและ Guideline ของ SEC เพื่อให้แน่ใจว่าเหรียญ DOT จะไม่จัดเป็น Security โดยเหรียญ DOT จะมีความใกล้เคียงกับความเป็นบริษัทมหาชนให้มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ เช่น การไม่จัดสรรเหรียญให้กระจุกอยู่กับหน่วยงานหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากเกินไป และเน้นการลงทุนในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีมากกว่าเน้นไปที่ผลกำไร เป็นต้น
ในปัจจุบันและภายหลังจากการอัปเดทตาม Roadmap ในอนาคต เหรียญ DOT มี Use Case ที่น่าสนใจดังนี้
ผู้ใช้งานสามารถนำเหรียญ DOT ไป Stake บน Relay Chain เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมและ Secure Network รวมถึงได้รับสิทธิการโหวต Governance Proposal ต่างๆ บน Polkadot (เช่น การกำหนดค่า Fee บน Network, การเพิ่มหรือการลดจำนวน Parachain หรือการอัปเกรดต่างๆ เป็นต้น) โดยจะได้รับ Block Rewards จากการ Stake เป็นเหรียญ DOT
การ Stake เหรียญ DOT นั้นสามาถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น Native Staking ซึ่งคือการ Stake ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องฝากผ่านคนอื่น (ขั้นต่ำเพียง 1 DOT) หรือจะเป็นการ Stake ด้วยการ Nominate ให้กับ Validator ที่ไว้ใจได้ นอกจากนี้ ยังมีทางเลือกการ Stake อื่นๆที่ง่ายกว่า อย่างเช่น การ Stake ผ่าน Custodial Service ต่างๆ เช่น Exchange หรือการ Stake ผ่านแพลตฟอร์ม Liquid Staking อย่างเช่น Bifrost เป็นต้น
อีกหนึ่ง Use Case ของเหรียญ DOT คือนำไปใช้ใน Parachain Slot Auction เนื่องด้วย Polkadot รองรับ Parachain Slot ได้จำนวนจำกัด ทำให้หลายๆโปรเจ็กต์ต้องมาแข่งกันเพื่อประมูล Parachain Slot ซึ่งทำได้โดยการนำเหรียญ DOT ไปล็อคไว้เป็นเวลา 2 ปี โดยนอกเหนือจากการลงเงินของโปรเจกต์เองแล้ว ยังสามารถทำ Crowdloan ซึ่งก็คือการที่แต่ละโปรเจ็กต์ต้องดึงดูดบุคคลภายนอกมาร่วม Lock เหรียญ DOT ให้กับโปรเจ็กต์ตัวเอง แลกกับการแจกเหรียญของโปรเจ็กต์นั้นๆ
โดยโปรเจ็กต์ใดที่ชนะจะได้สร้างบน Parachain เป็นเวลาสองปี และหลังจากนั้นจะได้เหรียญ DOT ที่ Lock ไว้คืนมา และจะต้องทำการ Auction ใหม่อีกครั้งหากต้องการใช้งาน Parachain ต่อ
สำหรับ Parathread จะเป็นทางเลือกให้กับโปรเจ็กต์ที่ไม่สามารถสร้างบน Parachain ได้ อาจะเนื่องมาจากว่าไม่สามารถระดม DOT มา Lock ได้มากพอที่จะชนะ Parachain Slot Auction เพราะสำหรับโปรเจ็กต์ที่จะมาสร้างบน Parathread จะใช้จำนวน DOT มา Lock ไว้เพียงประมาณ 50-100 DOT เท่านั้น
Polkadot Ecosystem ประกอบด้วยโปรเจกต์และ DApps จำนวนมาก เช่น เกม, NFTs, DeFi, Data Storage, Social Media เป็นต้น ดังนั้น ผู้ใช้งานสามารถนำเหรียญ DOT ไปใช้งานบนโปรเจกต์เหล่านี้ได้ ถึงแม้ว่าบางโปรเจกต์หรือ Parachain จะต้องใช้ Native Token ของตัวเองเป็นหลัก แต่ปัจจุบันทาง Polkadot กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาให้เหรียญ DOT สามารถใช้ได้กับทุกโปรเจกต์บน Polkadot Ecosystem ในอนาคต
นอกจาก Use Case ที่กล่าวมาข้างต้น ในอนาคตทางทีม Polkadot ประกาศว่ากำลังพัฒนา Use Case ใหม่ๆสำหรับเหรียญ DOT ออกมาเพิ่มเติมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Polkadot 2.0 Roadmap อย่างเช่น การนำไปใช้ซื้อ Coretime ซึ่งเป็นการซื้อขาย Blockspace ในจำนวนและระยะเวลาเท่าที่จำเป็นต่อการใช้งาน เป็นการลด Barrier of Entry ให้กับนักพัฒนาเข้าสู่บน Pokadot ซึ่งในอนาคต Polkadot อาจใช้การซื้อขาย Coretime แทนประมูล Parachain Slot Auction ที่มี Barrier of Entry ค่อนข้างสูงเพราะจำกัดเวลาที่ 2 ปี แต่ถ้าเป็นการซื้อขาย Coretime จะทำให้สามารถซื้อ Blockspace ในเวลาสั้้นกว่านั้นได้ เช่น 28 วัน
นอกจากการเพิ่ม Use Case แล้ว ทางทีมประกาศว่าอาจมีการพัฒนา Tokenomics ให้ดีขึ้นเพิ่มเติม เช่น การลดเวลา Unbonding จากการถอน Stake จากเดิมที่ต้องใช้เวลาถึง 28 วัน ให้เหลือต่ำสุดเพียง 2 วัน ซึ่งจะช่วยดึงดูดให้ผู้ใข้งานมา Stake มากขึ้นได้ และการเพิ่ม Token Burn จากค่า Fee ที่เก็บได้จากการใช้งาน ช่วยลดอัตราเฟ้อและเพิ่มมูลค่าให้กับเหรียญ DOT ได้อีกทางหนึ่ง
Polkadot เป็นบล็อคเชนที่เป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนานด้วยจุดเด่นในด้านการเป็น Base Layer โดยการทำงานที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างบล็อคเชนได้ ในบทความนี้เราได้พาไปดู Use Case ของเหรียญ DOT ที่มีด้วยกันหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน Polkadot 2.0 เราน่าจะได้เห็นการต่อยอด Use Case ของเหรียญ DOT เพิ่มมากขึ้นไปอีก ทำให้ Polkadot ถือเป็นอีกตัวที่น่าจับตามองใน Cycle นี้