Announcement เปลี่ยนจากตรงนี้
คุณชัชวาลย์ เจียรวนนท์ หรือ คุณชัช ทายาทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) สมาชิกตระกูลมหาเศรษฐีเบอร์ต้นของไทย และเจ้าของนิตยสารฟอร์จูน เป็นนักธุรกิจที่เคยประกอบธุรกิจและบริหารองค์กรต่างๆมาแล้วนับไม่ถ้วนในหลากหลายสาขา ทั้งด้านโทรคมนาคม พลังงาน รวมไปถึงสาขาทางด้านการเงิน
คุณชัชเล็งเห็นวิวัฒนาการและการพัฒนาของเทคโนโลยีธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทั้งจากธนาคารหรือภาคเอกชนที่พัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ดีกว่า ถูกกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่า อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่ถูกจับตามองและเป็นที่น่าสนใจในขณะนี้ คงหนีไม่พ้นเทคโนโลยี Blockchain
ในปี 2559 คุณชัชวาลย์ ได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาของบริษัท Kejora Ventures ซึ่งมุ่งเน้นการลงทุนธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นโอกาส
ที่ได้พบกับ คุณตฤบดี อรุณานนท์ชัย หรือคุณบีม ซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษา
โดยคุณตฤบดีมีประสบการณ์ทางการทำงานร่วมกับสถาบันทางการเงินชั้นนำ และมีความสนใจในธุรกิจและเทคโนโลยีทางด้านการเงินเป็นพิเศษ ซึ่งทั้งสองมีความแนวคิดที่ตรงกัน และมองเห็นโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงโลกทางการเงินจึงตัดสินใจก่อตั้ง Velo ขึ้น
ในช่วงต้นปี 2018 คุณชัชวาลย์ ได้ก่อตั้งบริษัท Velo และร่วมบริหารกับ คุณตฤบดี โดยมีแนวคิดที่จะหาโซลูชั่นทางการเงินด้วยเทคโนโลยี Blockchain คุณตฤบดี จึงได้ติดต่อทาบทามคุณสุวิชชา สุดใจ มาเป็นผู้ผลักดันธุรกิจของ Velo ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรองประธานบริหารหัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมธุรกิจของธนาคารกรุงไทยและยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการผลิตภัณฑ์สำหรับ Digital Ventures ของธนาคารไทยพาณิชย์
รวมถึงทาบทามคุณอดิรุจ นิธิเลิศวิวัฒน์ มาดำรงตำแหน่ง CTO ซึ่งคุณอดิรุจนั้นเป็น Founder ของบริษัท 100x Studio ที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนา Software บน Blockchain โดยคุณอดิรุจได้เกียรติรับเชิญเป็นวิทยากรในงาน Techonology/ Blockchain Event ชื่อดังหลากหลายงานของประเทศไทย โดยเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการ Blockchain Community
คุณตฤบดีและคุณสุวิชชาได้จับมือร่วมกับ Jed McCaleb อดีตผู้ร่วมก่อตั้ง Ripple ที่นำเสนอโซลูชั่นทางด้านระบบการเงินด้วย Distributed Ledger รวมทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง Stallar Foundation องค์กรที่นำเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้งานในธุรกิจการเงิน ซึ่งภายหลังทาง Jed McCaleb ก็ได้เข้าร่วมเป็นผู้ถือหุ้นและที่ปรึกษาแก่ Velo
ในระบบการเงินแบบเดิมนั้นการที่ “เงิน” จะถูกโอนถ่ายทำธุรกรรมหรือนำไปทำสัญญาต่างๆนั้นจำเป็นที่จะต้องมีต้นทุนทางเอกสารที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนทำให้ต้นทุนทางเวลานั้นสูง แต่ในทางกลับกับด้วย Cryptocurrency ที่เป็นข้อมูลดิจิทัลนั้นสามารถเขียนคำสั่งและสร้างรูปแบบการทำงานได้อย่างไม่จำกัด มีความรวดเร็วและต้นทุนต่ำ ดังนั้นไม่เพียงแต่ที่จะสามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจที่ดำเนินการอยู่เท่านั้น แต่ถือว่าสามารถต่อยอดและส่งเสริมวงการทางการเงินได้อีกด้วย
แต่ทว่าการนำ Cryptocurrency มาปรับใช้ในธุรกิจนั้นมีอุปสรรคอยู่สองสามจุด “จุดแรกคือ ถึงแม้ว่าจะมีการเติบโตของมูลค่าที่น่าสนใจ แต่ต้องยอมรับว่ามูลค่าที่ไม่แน่นอนหรือความผันผวนสูง ทำให้ยากแก่ธุรกิจการเงินดั้งเดิมที่จะยอมรับและนำ Cryptocurrency มาใช้ ประการที่สองคือสภาพคล่องของ Cryptocurrency นั้นมีจำกัดและมีมูลค่าไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้ในธุรกิจที่มีการทำธุรกรรมที่มีมูลค่ามหาศาลได้” ถือเป็นโจทย์หลักที่นำไปสู่แนวคิดของ Velo
ในจุดเริ่มต้นทางทีมงาน Velo มีแนวคิดที่จะนำ Stable Digital Credit หรือเครดิตในรูปแบบของ Cryptocurrency ที่มีมูลค่าคงที่มาใช้กับแก้ปัญหาให้เหมาะกับแต่ละธุรกิจ ซึ่งตัวเครดิตนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในธุรกิจได้มากมายเช่น ระบบ Credit Scoring การโอนเงินข้ามประเทศ การทำ Digital lending system และอื่นๆอีกมากมาย
นอกจากนี้ Velo Protocol ได้ถูกนำไปใช้ในการเป็นระบบชำระเงินแบบไร้ตัวกลางให้กับบริษัท Lightnet ซึ่งมุ่งเน้นการประกอบธุรกิจในการโอนเงินระหว่างประเทศ ทำให้สามารถโอนเงินได้สะดวก รวดเร็ว และมีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่ำ ทำให้ผู้บริโภคนั้นได้รับผลประโยชน์จากค่าธรรมเนียมที่ต่ำลง ในขณะเดียวกัน Lightnet นั้นมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำระดับโลกในบริการทางการเงินยุคใหม่ที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย โดยมุ่งเน้นการเปิดตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนที่จะขยายธุรกิจไปยังประเทศจีน ญี่ปุ่น และทั่วโลก โดยทางบริษัทมีวิสัยทัศน์ที่จะให้บริการการชำระเงินที่จะปฏิวัติการเงินแบบดั้งเดิม และนำเสนอบริการแบบครบวงจรที่ราบรื่นสำหรับผู้บริโภคในการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการทางการเงิน
ช่องทางการติดตามข่าวสาร Velo
Website: www.velo.org
Twitter: twitter.com/veloprotocol
Telegram official channel: https://t.me/veloprotocol
Telegram announcement channel: https://t.me/veloann
Medium Blog: https://medium.com/veloprotocol
ที่มา : LINK