Bitcoin Addict เปลี่ยนเว็บไซต์ใหม่เป็น www.bitcoinaddict.com
Derivative (อนุพันธ์) เป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญสำหรับ trader และนักลงทุน ในด้านการเก็งกำไร (Price Speculating) และการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) สำหรับโลกคริปโตแล้ว เครื่องมือเหล่านี้ก็ถูกนำมาใช้งานเช่นกัน โดยส่วนใหญ่จะใช้งานผ่าน Centralized Exchange (CEX) เนื่องจากใช้งานได้ง่ายและสะดวกมากกว่าสำหรับคนเทรดคริปโตฯ
อย่างไรก็ตามตั้งแต่เหตุการณ์ที่ FTX ล่มสลายลง มีผู้เสียหายจำนวนมากที่สูญเงินส่งผลให้ความน่าเชื่อถือของ CEX ลดลงอย่างมากและเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้คนหันมาสนใจ DEX กันมากขึ้นจากความโปร่งใสและความไร้ศูนย์กลางที่ DEX มอบให้ได้ และจากความต้องการของ User ในการใช้เครื่องมือทางการเงินอย่าง Derivative ก็ได้นำมาสู่การพัฒนา Perpetual DEX ที่สามารถทำให้เราเทรด Derivative แบบ On-chain ได้โดยไม่ต้องพึ่งตัวกลาง
การล้มลงของ FTX เป็นสาเหตุหลักที่ผู้คนนั้นหันมาสนใจ On-chain Trading กันมากและส่งผลให้มี Platform DEX เพิ่มขึ้นมากมายในตลาด จากกราฟ DEX-to-CEX Spot Trade Volume จะเห็นเลยว่าหลังจากเหตุการณ์ FTX นั้น Volume การ Trade spot บน DEX เมื่อเทียบกันกับ CEX แล้วเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนับเป็น 15% ของ spot volume บน CEX
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า แตกต่างจาก spot volume ของ DEX อย่างสิ้นเชิงที่ได้ขึ้นมามากหลังจากปัญหา FTX ในส่วนของ Derivative Trading Volume บน DEX นั้นยังคงวนเวียนอยู่แค่เพียง 1.5% - 2% เท่านั้นเมื่อเทียบกับ Derivative Trading Volume บน CEX
โดยจากการวิเคราะห์หาสาเหตุและปัจจัยต่างๆที่อาจเป็นคำตอบได้ว่า ทำไม Volume Derivative บน DEX นั้นยังน้อยมากเมื่อเทียบกับ CEX ทั้ง ๆ ที่มีข่าวใหญ่อย่างการล้มของ FTX
แต่ก็ได้ข้อสรุปว่าสาเหตุหลักนั้นอยู่ที่ข้อจำกัดด้าน Features ต่าง ๆ บน DEX ที่ไม่ครอบคลุมและนำไปสู่ประสบการณ์การใช้งานที่แย่และไม่น่าจดจำของผู้ใช้ ยิ่งสำหรับ Derivative ที่เป็นเครื่องมือที่ซับซ้อนแล้วยิ่งแล้วใหญ่
โดยปัญหาต่างๆ ของ Perpetual DEX ทั่วไป อาทิ
จะเห็นได้ว่านอกจาก DEX จะมี Features ต่างๆที่น้อยกว่า CEX แล้ว ค่าธรรมเนียมในการเทรดยังสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด
ด้วยปัญหาต่างๆเหล่านี้ทำให้ perpetual DEX ส่วนใหญ่นั้นยังไม่สามารถเติบโตและกอบโกยโอกาสเหล่านี้ได้ดีเท่าที่ควร ไม่ว่าจะปัญหาเรื่องของความยืดหยุ่นในการเทรดที่ต่ำทั้งยังมีการเสียค่าธรรมเนียมที่แพงกว่า CEX ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ ก็เป็นที่มาของ HMX – platform perpetual DEX ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง แก้ไข painpoint เหล่านั้นพร้อมทั้งมอบประสบการณ์การใช้งานรูปแบบเดียวกันกับ CEX นั่นเอง
HMX นั้นเป็น perpetual protocol หน้าใหม่ที่มีเป้าหมายสร้าง perpetual DEX ที่ให้ประสบการณ์การใช้งานเหมือนกับว่าอยู่บน CEX ผ่านการออกแบบ UI/UX ที่คิดมาอย่างดีพร้อมกับ key features ต่างๆที่จะแก้ pain points ของผู้ใช้งาน
จากภาพจะเห็นได้ว่า HMX – แม้จะเป็น DEX – นั้นเต็มไปด้วย Features ต่างๆ ที่ทำให้ประสบการณ์การเทรดนั้นเหมือนกับ CEX ทั้งยังคงไว้ด้วยความเป็นส่วนตัว (ไม่ต้อง KYC) ความปลอดภัย และความไร้ศูนย์กลาง แถมทั้งค่าธรรมเนียมที่เทียบเท่ากับ CEX อีกด้วย
แล้วถ้าเกิดว่าไม่ใช่ Trader แล้วอยากได้รับ yield HMX มีโปรดักท์อะไรที่จะตอบโจทย์บ้างไหม?
1 ใน Feature รูปแบบใหม่ที่ HMX คิดขึ้นมาเรียกว่า Leveraged market making (HLP Vault) คือการที่ HMX นั้นนำเอาสภาพคล่องมาจาก GM pools ของ GMX เพื่อมา market make ให้กับ Trader ที่ HMX
โดยคนที่สนใจจะรับ Yield ก็สามารถฝากสภาพคล่องเข้าไปที่ HLP Vault ของ HMX โดยสภาพคล่องก้อนนั้นก็จะได้รับ yield จากทั้งฝั่ง GMX และ HMX เป็นการ leverage สภาพคล่อง 1 ก้อนแต่ได้รับ yield ถึง 2 ทาง
จากเดิมแล้ว pool ของ $HLP นั้นประกอบไปด้วย 90% GLP จาก GMX v1 และ 10% USDC แต่หลังจากที่ทาง GMX ได้มีการเปิดตัว v2 ขึ้นรวมทั้งแผนที่จะแจก $ARB ที่ได้รับจาก Arbitrum Short-Term Incentive Program (STIP) เพื่อดึงดูดให้คนมาใช้ v2 ของตัวเองนั้น HMX ก็มีแผนที่จะเปลี่ยนองค์ประกอบของ $HLP
โดยเปลี่ยนการใช้งาน GLP จาก GMX v1 ไปใช้ GM pool จาก GMX v2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการได้รับ Yield ของคนที่ฝาก HLP ผ่านแรงดึงดูดของตลาดที่ให้ความสนใจ GMX v2 มากขึ้นนั่นเอง
สำหรับคนที่สนใจเรื่อง Real Yield และกำลังมองหาวิธีการในการฟาร์ม real yield ดีๆในตลาดแล้ว Leveraged Market Maker ของ HMX นั้นอาจจะเป็น Product ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ของคุณเลยล่ะครับ
ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดอนาคตของโปรเจคคริปโตได้เลยนั่นก็คือ Tokenomics ที่ถ้าหาก design มาได้ไม่ดีก็จะทำให้โปรเจคหมดอนาคตได้เลย การออกแบบของ Tokenomics ของ HMX นั้นจึงมุ่งเน้นไปที่ 2 สิ่งเป็นสำคัญ ได้แก่
สำหรับการสร้าง Yield นั้น ผู้ถือเหรียญ HMX นั้นสามารถนำเหรียญไป Stake เพื่อที่จะได้รับ 25% ของค่าธรรมเนียมที่ HMX สร้างได้ และเพื่อเป็นการสนับสนุนการสร้าง real yield HMX ไม่เพียงแต่ให้ reward กับคนที่มาวาง LP เท่านั้นแต่ยังให้ reward กับ trader ผ่านระบบ loyalty ชื่อ Trader’s Loyalty Credits ($TLC) โดยการให้ reward กับ trader นั้นเป็นเหมือนการช่วยสนับสนุน (subsidize) ในการลดค่าธรรมเนียมการเทรดบน HMX ให้กับนักเทรดเหล่านั้น และเป็นการลด barrier-to-entry ให้กับเทรดเดอร์ใหม่ ๆ เพื่อจะช่วยกระตุ้นให้คนมาใช้งานมากขึ้น
เมื่อมีคนมาเทรดและเปิด position มากขึ้น ค่าธรรมเนียมก็จะเก็บได้มากขึ้นเล่นกัน ซึ่งค่าธรรมเนียมเหล่านั้นก็จะถูกแจกจ่ายกับไปเป็น reward ให้กับคนที่ stake HMX กับผู้ที่วางสภาพคล่องกับ HLP นั่นเอง
ในส่วนของการลด sell pressure ของเหรียญ HMX นั้นจะทำโดยผ่านการออกแบบการแจกจ่าย reward รูปแบบของ escrowed HMX ($esHMX) แทนที่จะเป็นเหรียญ HMX โดยตรง ซึ่ง esHMX จะไม่สามารถขายได้และจะต้องผ่านการปลดล็อก (vesting) เป็นเวลาทั้หมด 1 ปีก่อนที่จะถูกแปรสภาพให้หลายเป็นเหรียญ HMX
$esHMX นั้นมีคุณสมบัติแบบเดียวกันกับ $HMX โดยผู้ที่ได้รับ $esHMX ก็มีทางเลือกสองทาง
โดยรวมแล้วยิ่ง stake เหรียญ $HMX นานขึ้นและมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะได้ส่วนแบ่งรายได้ของ platform มากขึ้นเท่านั้นนั่นเอง
ถึงแม้ว่า HMX จะเปิดตัวได้ไม่นาน แต่ก็ได้ผ่าน milestone หรือเป้าหมายที่สำคัญมามาก
ช่องว่างระหว่าง trading volume ของ DEX และ CEX นั้นยังห่างไกลกันมากโดยเฉพาะในส่วนของ Derivative Trading ที่ volume ของ DEX นั้นนับเป็น 1.5%-2% เท่านั้นเมื่อเทียบกับ CEX โดยสาเหตุสำคัญนั่นก็เพราะข้อจำกัดของ Perpetual DEX ที่ไม่สามารถสร้างประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีรวมถึงความสะดวกสบายในการเทรด derivative ที่เหมือนกับ CEX ได้
นี่จึงเป็นที่มาของ HMX (Perpetual DEX) platform ที่เพียบพร้อมไปด้วย features ที่ตั้งเป้าจะแก้ปัญหาในส่วนของประสบการณ์การใช้งาน DEX ที่ไม่มีความยืดหยุ่นและซับซ้อนด้วย Multi-Asset Collateral, Cross Margin Collateral และ Account Abstraction เพื่อให้ผู้ใช้งานมีประสบการณ์ในการ Trade ที่ใกล้เคียงกับ CEX มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ HMX ยังคำนึงถึงคนที่ต้องการ real yield โดยมี product อย่าง Leveraged Market Making ที่ทำได้ด้วยการวางสภาพคล่องผ่าน HLP Vault ที่จะดึงสภาพคล่องและนำรายได้เข้าสู่ Protocol ด้วยจากทั้งฝั่ง GMX’s GM Pool (v2) และ HMX เป็นการ leverage สภาพคล่อง 1 ก้อนแต่ได้รับ yield ถึง 2 ทาง
รวมถึงได้รับ $ARB ที่เป็น Incentives (STIP) บน GMX v2(GM Pool) ถึงแม้ HMX จะเก็บค่า Fees จากการเทรดต่ำทำให้สามารถสร้างรายได้น้อยกว่า platform อื่นแต่ HMX นั้นก็ได้ yield บางส่วนมาจาก GMX เป็นอีกช่องทางรายได้นึงด้วยเช่นกัน
ที่สำคัญยังวางแผน Tokenomics ที่รอบคอบเพื่อลด Sell pressure ในระยะสั้นผ่านการแจก $HMX (Governance Token) เป็นแบบ esHMX ให้กับ Staker ที่จะต้องทำการ Vest(ล็อค) เป็นเวลา 1 ปีถึงจะนำออกมาขายได้ และยังให้ความสำคัญต่อผู้ใช้และ Community รวมถึงการมุ่งมั่นพัฒนา platform อย่างต่อเนื่อง
นอกจากการพัฒนาตนเองเพื่อให้เป็น DeFi Protocol ระดับแนวหน้าของโลกคริปโตแล้ว HMX ยังตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ของ platform perpetual DEX เพื่อก้าวข้ามความแตกต่างระหว่าง DEX และ CEX และนำพาผู้คนอีกมหาศาลเข้าสู่โลกการเงินที่ไร้ศูนย์กลางอย่างแท้จริง
ช่องทางติดตามต่างๆของ HMX นั้นสามารถดูได้ที่นี่