Bitcoin Addict เปลี่ยนเว็บไซต์ใหม่เป็น www.bitcoinaddict.com

February 25, 2021
Featured|บทความ

DeFi WTF!! Guide Book เส้นทางสู่การเป็นชาวนาดิจิทัล ตอนที่ 3 : การฟาร์มด้วย Cryptocurrency และการคำนวณ Impermanent loss

ในส่วนถัดไปคือของการเป็นชาวนาดิจิทัลคือการฟาร์มด้วย Cryptocurrncy ที่มีมูลค่าผันผวน ซึ่งเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงมากขึ้นแต่มันก็แลกมาด้วยผลตอบแทนที่มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณรับมันได้หรือเปล่า ถ้าให้เราอธิบายคร่าว ๆ คือหากคุณเป็นคนที่คิดอยากได้กำไรจากการถือเหรียญเฉย ๆ การที่คุณเอาเหรียญเหล่านี้มาฟาร์มจะมีความเสี่ยงบางอย่างที่คุณอาจไม่คาดคิดมาก่อน

ทำความเข้าใจเรื่อง AMM 

ในตอนที่แล้วเราจะได้เล่าถึงการฟาร์มด้วย Stablecoin ซึ่งหากใครที่ไม่ได้คิดจะฟาร์มด้วย Cryptocurrency ที่สามารถผันผวนได้จริง ๆ อาจจะไม่ต้องสนใจในจุดนี้ แต่หากคุณคิดจะฟาร์มด้วยเหรียญที่มูลค่าสามารถผันผวนได้ AMM เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ โดยแพลทฟอร์มอย่าง Uniswap หรือ Pancake Swap นั้นเป็น Decentralized Exchange (DEX) แบบ Automate market maker (AMM)


ซึ่งเว็บเทรดแบบ DEX นี้จะเป็นคนละแบบกับเว็บเทรดแบบ Order Booking ที่เหมือนกับเวลาเราซื้อขายใน Exchange ปกติที่เราสามารถตั้งราคาซื้อขายได้ แต่ในลักษณะของ AMM นั้นราคาของเหรียญจะถูกกำหนดโดยสัดส่วนของเหรียญที่อยู่ใน Pool ของเหรียญนั้นๆ

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราฝากเหรียญไว้ในแพลตฟอร์ม AMM เช่น uniswap หรือ pancakeswap ด้วยคู่เหรียญ A:USDT โดยเราฝากเข้าไป 100 A และ 100 USDT ใน Pool ที่เป็นคู่เหรียญนี้ AMM จะทำการกำหนดราคาของเหรียญ A โดยนี้คู่กับสัดส่วนเหรียญของ USDT ที่อยู่ใน Pool และนั่นเท่ากับว่าเหรียญ A จะมีมูลค่าเท่ากับ 1 USDT

ทำความเข้าใจเรื่อง Price Impact

โดยสมการที่ควบคุมราคาเหรียญของแพลตฟอร์ม AMM ทั่วไปนั้นคือสมการ x * y = k เนื่องจากสมการนี้เป็นสมการที่เรียบง่ายมาก ๆ แต่ก็แลกมาด้วยการที่ว่าประสิทธิภาพของ AMM นั้นไม่ได้ดีในแง่ของการซื้อขาย ซึ่งเราจะเรียกมันว่า Price Impact 

ตัวอย่างเช่นเราต้องการจะทำการซื้อขาย DAI-ETH ใน Uniswap โดยใน pool นั้นมี 100,000 DAI และ 1,000 ETH ถ้าเราคิดตาม Common Sense แล้วเราควรจะใช้เงิน 100 Dai ในการซื้อ 1 ETH  (100 dai/eth) แต่ถ้าเราต้องการซื้อ 10 ETH หล่ะ? ผลที่ได้นั้นไม่ใช่แค่เราใช้ 1000 dai แต่มันกลับกลายเป็น 1010.1 dai

นั้นเป็นเพราะแพลตฟอร์ม AMM ถูกออกแบบมาให้มีการ Rebalance จากสมการ x*y=k เพราะฉะนั้นเมื่อเราซื้อ Volumn ที่มากเท่าไหร่จาก Uniswap เราจะยิ่งได้ราคาที่แย่ลงขึ้นกับว่าอัตราส่วน Volumn ที่เราซื้อกับ Liquidity ทั้งหมดใน Pool เป็นเท่าไหร่ยิ่ง Pool มี Liquidity มากเรายิ่งเสี่ยงน้อย

สรุปสั้นๆ: ถ้าจะพูดง่าย ๆ คือการที่เราจะทำการแลกเปลี่ยนใน AMM เราควรทำการแลกเปลี่ยนในปริมาณไม่เกิน 2% ของ Pool ไม่งั้นเราจะต้องซื้อแพงมากๆ 

Impermanant Loss ค่าเสียโอกาสในการลง Pool

ทีนี้ถ้าเราเข้าใจเรื่อง Price Impact แล้วเราจะเข้าใจว่า AMM นั้นมันมีข้อเสียในแง่การซื้อขายอยู่ จากสมการ x*y=k เมื่อเทียบกับระบบ Order Booking ทำให้เมื่อเราฝากเหรียญที่มีมูลค่าผันผวนได้ลงไปใน Pool เราจะมีค่าเสียโอกาสที่เรียกว่า Impermanant Loss ในกรณีที่ราคาผันผวน เช่น

สมมติว่าถ้าเราฝาก ETH มูลค่า 100 USD ที่ราคา ETH 100 USD กับ Dai มูลค่า 100 USD ในอัตราส่วน 50:50 เราจะมีเงินใน Pool มูลค่า 200 USD

แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้าราคาของ ETH พุ่งไป 20% เป็น 120 USD ในทันที ถ้าเราคิดตาม Common Sense ก็คือเราจะมีเงินใน Pool มูลค่า 220 USD

แต่มันไม่ใช่แบบนั้นเมื่อเกิดความผันผวนของคู่เหรียญ AMM จะทำการ Rebalance ให้คู่เหรียญมีมูลค่าเท่ากัน และมันไม่ได้ทำงานดีเท่ากับการซื้อขายแบบ Order Book ทำให้มี loss เกิดขึ้น

เพราะฉะนั้นเงินของเราใน Pool จะไม่ได้มีมูลค่า 220 USD แต่เป็น 219.09 USD

Note: จุดนี้เองทำให้ Pool อาจไม่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการ Hold เหรียญใดเหรียญหนึ่งเพราะ เช่นถ้าหากเราต้องการถือ ETH เมื่อ ETH ราคาขึ้น ETH บางส่วนจะถูกเทขายทำให้จำนวน ETH เราลดลง (กลับกัน ETH ของเราจะเพิ่มขึ้นหาก ETH ราคาลง)

ซึ่งเงิน 1 USD ที่ว่านี้จะถูกเรียกว่า Impermanent Loss คล้ายๆกับค่าเสียโอกาสของการฝาก Pool เมื่อเทียบกับการที่เราถือเฉยๆ

  • ถ้าราคาเปลี่ยนแปลง 1.25x เราจะเสียกำไรไป 0.6% เมื่อเทียบกับการถือ
  • ถ้าราคาเปลี่ยนแปลง 1.50x เราจะเสียกำไรไป 2.0% เมื่อเทียบกับการถือ
  • ถ้าราคาเปลี่ยนแปลง 1.75x เราจะเสียกำไรไป 3.8% เมื่อเทียบกับการถือ
  • ถ้าราคาเปลี่ยนแปลง 2x เราจะเสียกำไรไป 5.7% เมื่อเทียบกับการถือ
  • ถ้าราคาเปลี่ยนแปลง 3x เราจะเสียกำไรไป 13.4% เมื่อเทียบกับการถือ
  • ถ้าราคาเปลี่ยนแปลง 4x เราจะเสียกำไรไป 20.0% เมื่อเทียบกับการถือ
  • ถ้าราคาเปลี่ยนแปลง 5x เราจะเสียกำไรไป 25.5% เมื่อเทียบกับการถือ

ซึ่งหลักการของ Impermanant Loss นี้สามารถถูกใช้ได้ทั้งในขาขึ้นและลงซึ่งหากเราฝากเหรียญแล้วราคาเหรียญลงเราอาจจะโดนทั้งการขาดทุนและ Impermanat Loss ตามสูตร

divergence_loss = 2 * sqrt(price_ratio) / (1+price_ratio) — 1

สรุปสั้นๆ: ถ้าเราเอาเหรียญที่มีมูลค่าผันผวนไปลง Pool เรามีความเสี่ยง 2 อย่าง

  • จำนวนเหรียญที่เราฝากจะมีจำนวนลดลงถ้าราคาเหรียญนั้นขึ้นหรือจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อเหรียญราคาลง
  • มูลค่าของเงินที่เราฝากนั้นจะกำไรน้อยกว่าการถือเฉยๆแต่ถ้าขาดทุนจะขาดทุนสองทั้งเหรียญราคาลงและ Impermananct Loss กว่าการถือเฉยๆ

ฝากคู่เหรียญไหนดี

จริง ๆ แล้วถ้าเรามองว่าเราต้องการผลตอบแทนสูงสุดจากคู่เหรียญ เราควรฝากเหรียญที่มีความเสี่ยงน้อย ๆ เช่นเหรียญ Stable coin ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น USDC , DAI , USDT , BUSD เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงจาก Impermanct Loss แต่อย่างไรก็ตามบางครั้งในคู่เหรียญที่มีมูลค่าผันผวนก็ให้ผลตอบแทนค่อนข้างน่าสนใจมากจนชดเชย Loss ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ใครที่คิดจะลงเงินใน Pool อย่าง Uniswap หรือ Pancakeswap ควรจะพิจารณาเอาไว้

Note1: เช็คผลตอบแทนจากค่าธรรมเนียมได้ที่ uniswap.info หรือ pancakeswap.info

Note2: จริงๆแล้วในแพลตฟอร์ม AMM อื่น ๆ เช่น balancer หรือ Curve จะไม่ได้ใช้สมการ x*y=k ซึ่งมีการจัดการ Impermanant Loss ที่ดีกว่า (แต่ค่าธรรมเนียม Gas แพงมาก เพราะทำงานอยู่บน ETH Chain)

บทความที่คุณอาจสนใจ