Bitcoin Addict เปลี่ยนเว็บไซต์ใหม่เป็น www.bitcoinaddict.com

October 8, 2021
Featured|บทความ

GameFi WTF Ep.3 Splinterland เกมการ์ดในโลก GameFi ที่มาก่อนกาล

สวัสดีครับวันนี้เราจะมาต่อกันที่เรื่องราวของ GameFi หรือการพูดถึงเกมที่ไม่ได้มีเพียงแค่ความสนุกสนานแต่สามารถสร้างรายได้แก่ผู้เล่นอีกด้วย ในตอนก่อนหน้าเราได้เล่าเรื่องราวของเกม Axie ที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้กระแส Play-to-earn เกิดขึ้น แต่ในวันนี้เราจะมาพูดถึงอีกเกมนึงที่เรียกได้ว่ามันเริ่มพัฒนาขึ้นมาตั้วแต่ตอนที่ยังไม่มีใครพูดถึงแนวคิด Play-to-earn ด้วยซ้ำและนั่นคือเกม Splinterland

Splinterland คืออะไร

Splinterland นั้นเป็นเกมการ์ดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากหนึ่งในเกมการ์ดชื่อดังอย่าง Magic the Gathering ที่ใครอาจจะเคยเล่นตอนเด็กๆนะคะ ใครเคยเล่นก็คอมเม้นๆไว้ละกัน โดยตัวเกมนั้นมีลักษณะการเล่นที่ผู้เล่นจะต้องสะสมการ์ด แล้วนำไปใช้สู้กับผู้เล่นคนอื่นโดยการเลือกการ์ดจำนวน 3-6 ใบตาม Mana ที่กำหนดให้ จัดเรียงตำแหน่ง โดยการ์ดแต่ละใบจะมีลักษณะเฉพาะต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันไม่ว่าจะเป็นความสามารถพิเศษ ความเร็ว เกราะและการโจมตี  หลังจากที่เลือกการ์ดเสร็จแล้ว มอนสเตอร์ของเราจะทำการโจมตีโดยอัตโนมัติ ถ้าหากเราชนะโดยการกำจัดมอนสเตอร์ศัตรูทั้งหมดได้ เราจะได้รับเหรียญที่ชื่อว่า DEC (Dark Energy Crystal) ซึ่งเป็น In-game Currency เป็นรางวัล ซึงเหรียญนี้จำเป็นต้องใช้ในกิจกรรมต่างๆของเกม และนั่นคือสิ่งที่ทำให้เหรียญนี้มีมูลค่า ทำให้ Splinterlands เป็นอีกหนึ่งเกม Play to Earn ที่เราสามารถหารายได้กับมันได้

เกมอันดับ 2 ของโลก GameFi 

Splinterlands นั้นเป็นหนึ่งในเกมที่ถูกสร้างขึ้นมาก่อนที่จะมีกระแส GameFi ซะอีกและเรียกได้ว่ามันเป็นเกมที่เกิดจาก Community-Driven อย่างแท้จริง เดิมทีเติบโตมาจากแพลทฟอร์ม Steemit ซึ่งเป็นแพลทฟอร์ม Social Media ที่จะมอบรายได้ให้แก่ผู้ที่เขียนคอนเท้นลงในแพลทฟอร์ม โดย User ที่ชื่อ @aggroed ได้นำเสนอไอเดียในช่วงเดือนมีนาคม 2018 ในตอนนั้นนี้ตัวเกมนั้นใช้ชื่อว่า Steem Monster รวมถึงยังใช้ Blockchain ของ Steem เป็นแพลทฟอร์มพื้นฐานก่อนที่จะทำการ Fork แยกออกมาเป็น Hive Blockchain (ในตอนนั้นสามารถใช้ steem dollar ในการซื้อการ์ดได้)

โดยตัวเกมนั้นได้ทำการเปิดขายแพคของการ์ดซึ่งมักจะเปิดขายบน Kickstarter ในช่วงแรกและดูเหมือนว่าในการขายทุกรอบก็จะขายหมดอยู่เสมอๆ โดย Starter pack สามารถขายได้ 1000 แพคและ Booster Pack สามารถขายได้ 10,000 แพค แต่เมื่อเวลาผ่านไป เกมเริ่มมีฐานผู้เล่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในเดือนมิถุนายนปี 2021 untamed pack ที่ออกมาล่าสุดสามารถทำลายทุกสถิติยอดขาย โดยจำหน่ายไปทั้งหมดถึง 1.5 ล้านแพคเลยทีเดียว

หลังจากที่เกม Axie นั้นจุดกระแสของโลก Play-to-earn ก็ได้มีเกมมากมายที่ทยอยสร้างขึ้นมาเพื่อตามกระแสนี้ แต่ในแง่สถิติทางตัวเลขนั้นไม่มีเกมใดเลยที่สามารถเทียบเคียง Axie ที่มีผู้เล่นวันละ 1.7 ล้านคนได้

โดยในเชิงสถิติของการเล่นนั้น (ไม่นับ MarketCap ของเหรียญ) Splinterlands นั้นเป็นเกมที่เรียกได้ว่ามีผู้เล่นและได้รับความนิยมเป็นอันดับสอง โดยมี Daily Active User อยู่ที่ 240k คน  ในส่วนของตลาดซื้อ-ขายการ์ดนั้นมูลค่าถึง 115 ล้านเหรียญสหรัฐ และสำหรับตลาดเช่าการ์ดนั้นมีการสร้างรายได้สูงถึง 10 ล้านเหรียญต่อปี (ข้อมูลจากเดือนสิงหาคม 2021) ซึ่งจากตัวเลขที่ทีมงานคาดการณ์แล้วตัวเกมอาจจะมี User ถึง 1 ล้านคนภายในปลายปี 2021 นี้

เกมเพลย์และเทคนิคการเล่น

หนึ่งในข้อดีของ Splinter Land ที่ต่างจาก Axie คือเกมนี้มีต้นทุนการเล่นที่ต่ำมาก ถ้าเราเล่นเฉยๆ โดยไม่ต้องการสร้างรายได้ เรียกได้ว่าเราสามารถเล่นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายด้วยซ้ำ แต่หากต้องการได้รับเหรียญ DEC จากการเล่นชนะจะต้องทำการซื้อ Spell Book มูลค่า 10$ ซึ่งนับว่าถูกมาก แต่การจะเล่นให้ได้รายได้ที่มากขึ้นจะต้องมีเรื่องของ Rank และการครอบครองการ์ดเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งเราจะอธิบายให้ฟังในภายหลัง

ตัวเกมจะมีการ์ดเริ่มต้นมาให้เเละเราสามารถทำการเล่นได้ทันที โดยตัวเกมจะเป็นระบบ Auto-Battle นั้นหมายความว่าเราจะต้องทำการเลือกการ์ด 1 ชุด(มากสุด 6 ใบ) ก่อนจะเล่นแล้วมอนสเตอร์ของเราจะทำการโจมตีอัตโนมัติตามลำดับจนกว่าจะรู้ผลแพ้ชนะ โดยแต่ละตานั้นจะมี Maximum Mana ซึ่งเป็นจำนวนจำกัดของมอนเสตอร์ที่เราจะลงได้เพราะมอนเตอร์แต่ละตัวจะมี Mana ที่จำเป็นต้องใช้ในการเล่นไม่เท่ากัน

โดยการ์ดนั้นจะแบ่งออกเป็น Summoner และ Monster โดย Summoner นั้นเป็นเหมือนการ์ดที่จะบัพให้กับ Monster ที่สนามเพียงแต่ว่าจะต้องมีธาติที่ตรงกันเท่านั้น ยกเว้นธาตุมังกรที่สามารถคู่กับธาตุอะไรก็ได้

และการ์ดแต่ละใบก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกับไปไม่ว่าจะพลังโจมตีพลังป้องกันไปจะถีงความสามารถพิเศษ โดยส่วนที่สำคัญคือการโจมตีจะมี Attack Type ดังนี้

  • ตีใกล้ซึ่งสามารถโจมตีในแถวหน้าสุดเท่านั้นและการโจมตีจะโดนเกราะป้องกันก่อน
  • ตีไกลจะสามารถโจมตีจากแถวหลังได้แต่ไม่สามารถโจมตีในแถวแรกได้และการโจมตีจะโดนเกราะป้องกันก่อน
  • เวทย์มนต์จะสามารถโจมตีได้ทั้งแนวหน้าและแนวหลังแต่รวมถึงสามารถโจมตีทะลุเกราะได้

นอกจากนี้ยังมีความสามารถอื่นๆ เช่น ตีแล้วติดพิษ โจมตีไปยังแนวหลัง สะท้อนการโจมตี เพิ่มโอกาสการหลบหลีก

และเมื่อเราชนะเราจะได้เหรียญ DEC พร้อมกับ MMR จำนวนหนึ่ง (ต้องกดเลือก Rank ด้วยนะ) และถ้าเราทำเควสประจำวันครบเราจะได้กล่องสุ่ม (ซึ่งเป็นกล่องที่มักจะเกลือแต่สามารถซื้อนำยา Boost เพิ่มได้)

ผลตอบแทนและระบบ Rank

เมื่อเราเล่นชนะนั้นเราจะมีโอกาสได้รับเหรียญ DEC (Dark Energy crystal) ที่เป็น In-Game-Currency ที่สามารถขายและแลกเปลี่ยนเป็นเงินจริงๆได้ แต่รางวัลที่ได้จะนั้นจะแปรผันไปตามตัวแปรดังนี้

  • Rank โดยอันดับจะมีตั้งแต่ Novice Bronze Silver Gold Diamond Champion
  • DEC Cature rate โดยในส่วนนี้จะคล้ายกับ Energy ของ Axie โดยแต่จะคิดเป็นอัตราส่วนโดยในทุกตาที่เราเล่นเกมไม่ว่าเราจะแพ้เหรือชนะค่านี้จะลดลงและส่งผลให้เราได้รางวัลน้อยลง โดย DEC capture rate จะตันที่ 100% 
  • Win Streak ถ้าเราเล่นชนะติดต่อกันนั้นเราจะมีรับ DEC มากขึ้น 
  • การ์ดทองหรือการ์ด Alpha ถ้าเราเลือกลงการ์ดทองหรือ Alpha ในตอนเล่นเราจะได้ Dec เยอะขึ้น
  • Guild Bonus ในระบบกิลด์นั้นจะมีสิ่งปลูกสร้างที่ชื่อว่า Lodge ซึ่งจะสามารถเพิ่มโบนัส DEC จนถึง 20% ได้

ซึ่งจากการทดลองเล่นแล้วตัวแปรที่มีผลมากที่สุดนั่นคือ Rank โดยตัวอย่างเช่นใน Rank ขั้นต้นอย่าง Bronze ถ้าชนะเราจะได้ Dec ตาละประมาณ 8 เหรียญคิดเป็นเงินประมาณ 6 บาท แต่ถ้าเราไต่ไปถึง Gold เราจะได้ประมาณตาละ 20 Dec เราสามารถเล่นได้เรื่อยๆก็จริงแต่ ถ้า Dec Capture rate ของเราลดลงถึง 80% นั้นก็ควรจะหยุดเล่นเพราะเราจะได้ Dec น้อยลงมาก โดย DEC Cature rate จะเพิ่ม 25% ต่อวันหรือ 1.04% ต่อชั่วโมง ทุกครั้งที่เล่น ถ้าชนะจะเสียแค่ 0.50% แต่ถ้าแพ้จะเสียไป 1% 

การที่เราจะจะไต่ Rank ได้นั้นเราจะต้องมีการเช่าหรือซื้อการ์ดเพื่อนำไปเล่นและเพิ่มค่า Power ขั้นต่ำของเราให้ปลดล็อคไปแรงค์ที่สูงขึ้นได้ ทำให้ตรงนี้จะเอื้อให้กับผู้เล่นมีต้นทุนในการเล่น และจากการซาวด์เสียงของคอมมูนิตี้แล้ว Rank ระดับ Gold ขึ้นไปนั้นรายได้ที่เราได้รับจะมีโอกาสไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับต้นทุนค่าเช่าการ์ดที่ต้องมาเป็น Power เพื่อปลดล็อค Rank รวมไปถึงการหาการ์ดดีๆ มาอยู่ในชุดการ์ดของเรา  

อย่างไรก็ตามเกมจะมีการจัดอันดับ Rank ในทุกๆ Season ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 12-16 วันและหากเราอยู่ใน Rank ที่สูงแล้วจำนวน Loot Chest ที่เราจะได้จะมากขึ้นตามไปเช่นกัน และนี่เป็นจุดหนึ่งที่เป็นโอกาสของผู้เล่น Rank สูง

ระบบการ์ด

การ์ดในเกมตอนนี้มีอยู่ 2 ประเภทคือ Summoner และ Monster และตัวเกมมีแผนว่าจะเพิ่มการ์ดประเภทใหม่ คือ ไอเทม และ Spell ในอนาคตอันใกล้ หลังจากที่ผู้เล่นซื้อ Spellbook จะได้รับเซทการ์ดเริ่มต้น (Base card) 

การ์ดเซทนี้จะไม่สามารถซื้อ-ขายได้และจะติดอยู่ในไอดีของผู้เล่นไปตลอด ถ้าผู้เล่นต้องการหาการ์ดมาแต่งเด็คเพิ่ม ก็สามารถทำได้โดยการ การเปิดซอง Booster pack, เช่า/ซื้อจากใน Market ในหน่วยของ DEC, ทำภารกิจประจำวัน หรือได้รับเป็นรางวัลในช่วงจบซีซั่น 

สำหรับเกม Splinterland แล้วสิ่งที่ Moon จริงๆไม่ใช่เหรียญ DEC หรือ SPS แต่เป็นการ์ดเพราะว่าการ์ดนั้นจะมีระดับความหายาก และบางใบก็จะมีจำนวนจำกัดที่จะอยู่ในซีรีย์ของ Pack ที่ขายหมดแล้วคือหมดเลยจะหาไม่ได้อีกและแน่นอนว่าการ์ดเหล่านี้นั้นเป็น NFT ที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ 

การ์ดในเกมแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ Common, rare, epic และ Legendary ตามความหายาก

นอกจากนี้ ยังมีการ์ดขอบทอง(Gold) ที่มีค่า Stat ไม่ต่างกับการ์ดปกติ แต่มีความสวยงามกว่าและสามารถทำให้ผู้เล่นลงแข่งขันในทัวร์นาเมนท์ Gold Foil ได้

นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถอัพเกรดเลเวลของการ์ดเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งโดยการหลอมการ์ดประเภทเดียวกันตามจำนวนที่เกมกำหนด ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถหลอมการ์ดเลเวล 1 ของตัวเดียวกัน 3 ใบ เพื่อให้เกิดการ์ดเลเวล 2 ได้ 1 ใบนั่นเอง ซึ่งการ์ดที่เลเวลเยอะก็จะมีความสามารถเพิ่มเติมขึ้นมา

การซื้อการเช่าการ์ดและการให้ยืม

ในการที่เราจะสามารถได้การ์ดเพิ่มขึ้นมานั้นเราจำเป็นจะต้องการซื้อการ์ดไม่ว่าจะซื้อใบเดี่ยวๆหรือซื้อการ์ดเป็นแพค โดยแพคการ์ดนั้นจะมีขายออกมาตาม Season (ซึ่งมักจะหมดค่อนข้างไว) นอกจากนั้นเราต้องไปซื้อการ์ดเป็นใบๆ ซึ่งการ์ดนั้นจำเป็นต่อการที่เราจะอัพ Rank เนื่องจากในการอัพแรงค์นั้นเราจะต้องมีค่า Power เช่น Bronze 2 นั้นเราต้องมี Power ตั้งแต่ 1000 ขึ้นไปซึ่งมันหมายถึงว่าเรามีการ์ดที่เป็นเจ้าของหรือเช่ามามูลค่า 1000 DEC

แน่นอนว่าการ์ดนี้เป็น NFT ที่สามารถส่งซื้อขายแลกเปลี่ยนได้โดยหากเราทำการซื้อขายใน market ของ Splinterland จะเสียค่าธรรมเนียม 5% แต่ส่วนที่น่าสนใจคือในเกม Splinterland นั้นมีระบบเช่าการ์ดมาให้ด้วย โดยที่เราสามารถปล่อยเช่าการ์ดให้คนอื่นเล่นได้ และผู้เล่นที่ไม่มีทุนในการซื้ออการ์ดก็สามารถเช่าการ์ดไปเล่นได้เช่นกัน โดยสามารถเช่าได้ตั้งแต่ 1-180 วันในราคาที่ต่างกันออกไป

ในกรณีที่เราต้องการให้เพื่อนของเรายืมการ์ดไปเล่นนั้นเราสามารถใช้ฟังชั่น Delegated ได้โดยด้วยวิธีนี้การ์ดนั้นจะยังเป็นของคุณอยู่แต่เพื่อนของคุณสามารถนำไปเล่นได้และเราก็ยังได้รับ Power จากการ์ดใบนั้นเช่นกัน

สุดท้ายคือการ Lock การ์ดซึ่งระบบมีไว้จัดการในกรณีที่เราไม่ต้องการจะโอน/ Burn ทิ้งหรือขาย โดยการ์ดที่ Lock นั้นเราจะยังสามารถให้ยืมหรือปล่อยกู้ได้ โดยการ Lock นี้เป็นเหมือนการนำการไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัยเพราะถึงแม้ว่าเราจะโดนขโมย Private Key การ์ดของเราก็ยังไม่หาย (พูดง่ายๆคือน่าจะฝากไว้กับ Smart Contract ของ Splinterland นั่นเอง)

Guild

ในเกม Splinterland นั้นเราสามารถสร้างกิลด์เพื่อให้ได้รับสิทธิพิเศษต่างได้ โดยการสร้างกิลด์นั้นต้องใช้ 10k DEC (12,000 บาท) โดยในกิลด์จะมีสิ่งก่อสร้างดังนี้

  • Guild Hall ในตอนแรกเราจะสามารถมีสมาชิกกิด์แค่ 15 คนเท่านั้นในเลเวล 1 และเมื่อเราอัพถึงเลเวล 10 เราจะมีสมาชิกได้ถึง 30 คน (ประมาณ 1M DEC) และ Town hall เป็นตัวจำกัดเลเวลของสิ่งก่อสร้างอื่นๆ คือ เราจะสามารถอัพเวลสิ่งก่อสร้างอื่นๆได้เท่ากับเลเวลของ Guild hall เท่านั้น โดยเราสามารพทำได้จากการใช้ DEC ที่ลูกกิลด์บริจาค
  • Quest Lodge เป็นตัวสิ่งปลูกสร้างที่จะทำให้เราได้โบนัส DEC มากที่สุด 20%, ส่วนลดร้านค้า 10% เป็นผลประโยชน์ให้กับลูกกิลด์ แต่เราจะได้บัฟเหล่านี้ต่อเมื่อเลเวลของ Lodge สูงขึ้นจากการทำ Daily quest ในแต่ละวัน
  • Guild Arena เอาไว้ใช้เวลา Brawl (กิลด์วอร์) โดยในการที่เราอยู่ Guild นั้นเราจะสามารถได้ Merit ซึ่งสามารถเอาไว้เปิดการ์ดแพคพิเศษสำหรับใช้ในการต่อสู้กิลด์วอร์เท่านั้น และถ้าชนะจะได้รับรางวัลเป็น Crown เป็นรางวัล โดย Crown นี้ยังไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากเป็นสิ่งที่ต้องใช้ในการอัพเกรด Arena
  • Barracks เอาไว้ใช้สำหรับการรับ Tactic Buff ที่เราจะสามารถใช้ในกิลวอร์ได้เช่น ถ้าเราเป็นผู้จัดการเเข่งขันและเราเสมอจะถือว่าเราชนะทันที

โดยส่วนตัวมองว่ากิลด์นั้นเป็นอะไรที่เหมาะสำหรับการเล่นจริงจังมาก เพราะแค่การที่ได้ส่วนลดจากร้านค้า 10% นั้นก็นับว่าคุ้มค่ามากแล้วสำหรับคนที่ชื่นชอบในเกมและต้องการเปิดแพคการ์ดจำนวนมาก นอกจากนี้แต้มที่เราสะสมได้จากการกิลด์วอร์ยังเป็นส่วนหนึ่งที่จะถูดเอาไปคำนวน SPS Airdrop ที่เราจะได้อีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตามก็มีข้อเสียเช่นกันเพราะการที่จะอัพสิ่งก่อสร้างในกิลด์แต่ละอย่างนั้นต้องมีการบริจาค DEC จำนวนมากทำให้บางครั้งเกิดการดราม่าในกิลด์ที่มีการจัดการที่ไม่ดีเพราะคนเข้าหลังๆก็จ่ายเท่าคนแรกๆและได้ผลประโยชน์เท่ากัน

ระบบที่ดิน

ที่ดินในเกมเปิดขายครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา 150,000 แปลง แต่ว่าตอนนี้ยังไม่ได้มีการเปิดให้ใช้งาน แต่ทางทีมงานได้แง้มไว้ว่าจะเป็นช่วงต้นปีหน้า ที่ผู้เล่นสามารถใช้งานที่ดินได้

เราสามารถเก็บเกี่ยวทรัพยากรสำคัญจากที่ดิน เพื่อนำมาใช้ในการคราฟต์การ์ดใหม่ได้ ยกตัวอย่างเช่นการ์ดไอเทม และ Spell โดยที่ดินจะมีระดับความหายากต่างกันออกไป และจะเป็นตัวกำหนดทรัพยากรในที่ดินนั้น ยกตัวอย่างเช่น ที่ดินระดับ Natural จะหาง่าย และมีทรัพยากรที่แย่กว่าที่ดินระดับ Magical เป้นต้น

เราสามารถสร้างสิ่งก่อสร้างบนที่ดินได้ 1 อันต่อที่ดิน 1 แปลง โดยมีสิ่งก่อสร้างหลายแบบ ตัวอย่างเช่น สิ่งก่อสร้างใช้ในการเก็บเกี่ยว Natural resource, Magic หรือสร้าง Spell, Item

และยังสามารถอัพเกรดสิ่งก่อสร้างได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับมัน นอกจากนี้กฏของเกมได้บอกว่าเราจำเป็นต้องใช้มอนสเตอร์ในการทำงานในสิ่งปลูกสร้างอีกด้วย

ระบบโทเคนภายในเกม

โทเคนในเกมมีทั้งหมด 2 เหรียญ คือ DEC(Dark energy crystal) และ SPS(Splintershards)

SPS จะมี Maximum Supply: 3,000,000,000 เหรียญ คือเหรียญ Governance token ของเกมที่มีแผนจะเข้าสู่ Decentralized Autonomous Organization(DAO) หมายความว่าในช่วงต้นปี 2022 เราจะสามารถนำ SPS ไป Stake เพื่อโหวตทิศทางของการพัฒนาเกมได้ นอกจากนี้ในตอนนี้เราสามารถนำ SPS ไป Stake ในเกม แล้วได้รับ APR ประมาณ 87% ต่อปีด้วย

โดยเรามีสิทธิที่จะได้ Airdrop จากเหรียญ SPS ได้โดยขึ้นกับว่าเรามีส่วนร่วมในเกมมากแค่ไหนเช่น การ์ด,เหรียญ DEC, Land, Skin, LP token ของ DEC, แต้มสะสมจากการแข่งขัน โดย Airdrop จะแจกทั้งใน HIVE chain, TRON, STEEM, ETH และ BSC (ใน Metamask) ก็จะสามารถได้รับ Airdrop เหรียญ SPS ไปเลย โดยเราสามารถไปกดเคลมได้ ที่ด้านขวาของหน้า Stake ภายในตัวเกม

DEC 

ตัวเหรียญ DEC Token นั้นจะเป็น In-Game-Currency ที่จะผลิตขึ้นมาทุกวัน วันละ 1 ล้าน DEC ต่อวันที่จะแจกให้กับผู้เล่นนั่นหมายความว่าโอกาสที่เราจะได้ DEC นั้นจะแตกต่างกันออกไปตามระดับและตัวแปร

แต่ตัวเกมนั้นจะมีการปรับการปล่อย Pool ของ Dec โดยเมื่อราคาของ 1000 DEC ต่ำกว่า $1 Pool จะทำการปล่อยเหรียญน้อยลงเพื่อให้เหรียญมีความฝืด และหากราคาของ 1000 DEC สูงกว่า $1 Pool จะทำการปล่อยเหรียญน้อยลงเพื่อให้เหรียญมีความเฟ้อ

โดย DEC นั่นสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้ดังนี้

  • ซื้อเซ็ทการ์ดบางชุดหรือ Dice สำหรับสุ่มการ์ด
  • บริจาคให้กับกิลด์
  • ซื้อ Skin ให้กับการ์ด
  • ซื้อ Potion เพิ่มโอกาสดรอปการ์ด
  • หรือจะนำไปขายแบบ P2P ให้กับคนในกลุ่มเฟซบุ๊คเพื่อแลกเป็นเงินบาทออกมา

ในเมือ DEC ถูกผลิตออกมามากแล้วมันก็จะมีการ Burn เหรียญกลับไปเช่นกันซึ่งในการที่เราอัพเกรดกิลด์,ซื้อ Skin,ซื้อแพคการ์ดนั้นจะต้องใช้ DEC เท่านั้น และเมื่อใช้แล้ว DEC จะถูก burn ทิ้งไป

ปัญหาเรื่อง Bot และ Tokenomic

ในวงการ GameFi หรือแม้แต่ปัญหาของเกมทั่วไปก็ตามหนึ่งในความท้าทายที่ต้องเจอคือเรื่องของ Bot ในเกม ที่จะทำให้ Ecosystem ของเกมนั้นเกิดปัญหาจากการที่คนไม่ได้เล่นเกมแต่เป็นโปรแกรมแล่นแทน และ Splinterland ก็เป็นหนึ่งในเกมที่เจอปัญหาจากการโจมตีจาก Bot โดยทำการ Spam หลายไอดีเพื่อปั้มเอา Dec ไปขาย

ล่าสุดทางตัวเกมก็ได้มีการปรับปรุงเรื่องรางวัล โดยจะมีผู้เล่นจำนวนหนึ่งที่ไม่ยอมอัพแรงค์ เพราะไม่อยากเช่าการ์ดทำให้ตัวเกมต้องปรับรางวัลตามแรงค์ขั้นต่ำของระดับนั้น เช่นปกติแล้วเมื่อเรามี Rating ถึง 1900 เราจะสามารถขึ้นจาก Silver 1 ->Gold 3 โดยเกมจะปรับให้ Rating ที่เป็นตัวแปรในการได้รับ DEC อยู่ที่ขึ้นต่ำของแร้งค์นั้นเท่านั้น เช่นเราแร้ง 2500 ใน Silver 1 เราก็จะได้ DEC โดยคิดจาก Rating 1899

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนอัตตราของรางวัลที่จะได้ใน Loot Chest โดยถ้าเราไม่ได้มีแร้งอย่างน้อย Silver 3 เราจะไม่มีโอกาสได้ DEC จากการเปิดกล่องเลย เราจะได้เป็น Credit แทนที่ไม่สามารถแลกเป็นเงินได้

โดยทางทีมงานได้ออกมาบอกว่าการปรับปรุงครั้งนี้อาจจะไม่ดีต่อผู้เล่นหน้าใหม่เท่าไหร่นัก แต่ Splinterlands นั้นเป็นเกม Play-to-earn ไม่ใช่ Free-to-play เพราะฉะนั้นเกมจะอยู่รอดได้ก็ต่อเมื่อ Asset ในเกมนั้นมีการถือและซื้อขายแลกเปลี่ยนเท่านั้น

Roadmap ในอนาคต

ตาม Roadmap ของเกม เร็วๆนี้ จะมี Card pack ใหม่ ชื่อว่า Chaos Legion ซึ่งจะเปิดให้ผู้เล่นได้ซื้อจำนวน 15 ล้านซอง โดยจะเปิดพรีเซลในวันที่ 18 ตุลาคม จำนวน 1,000,000 ซองแรกก่อนสำหรับผู้ที่มี Voucher ซึ่งจะได้รับจากการ Stake เหรียญ SPS ไว้

นอกจากนี้ในช่วงปลายปีนี้จะเปิดให้ผู้เล่นมีส่วนร่วมในระบบ Governance ของเกมโดยการ Stake เหรียญ SPS และยังมีการเปิด Land Gameplay ให้กับผู้เล่นได้มาปลูกสิ่งก่อสร้างและใช้ประโยชน์จาก Land หลังจากที่มีการเปิดขายรอบแรกในช่วงกลางปีนี้

เล่นได้ที่ https://splinterlands.com?ref=concealhan

อย่าลืมกดไลค์ Page Guild Fi Thailand ด้วยนะ https://www.facebook.com/GuildFiThailand

เข้าร่วม Discord GFI ได้ที่ https://discord.gg/SAeCEMAw

อ้างอิง : LINK

บทความที่คุณอาจสนใจ