Bitcoin Addict เปลี่ยนเว็บไซต์ใหม่เป็น www.bitcoinaddict.com
<!-- wp:heading -->
<h2 id="h-ethereum-eth">จุดเริ่มต้นของ Ethereum (ETH)</h2>
<!-- /wp:heading -->
<!-- wp:paragraph -->
<p>นับตั้งแต่ <a href="https://bitcoinaddict.org/2020/06/15/what-is-ethereum-get-to-know-the-most-popular-blockchain-in-the-world/">Ethereum</a> ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 2015 มันก็ได้ผ่านอะไรมามากมาย อย่างเช่น ช่วงปี 2017 ที่เรียกว่าเป็น “ยุคทองของ ICO” ซึ่งถึงแม้ว่าจะจบไม่สวย แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา DApps ต่างๆที่เราเห็นกันในทุกวันนี้ หากย้อนกลับไปในช่วงกลางปี 2020 เป็นช่วงที่นักลงทุนเริ่มพูดถึง “DeFi” มากยิ่งขึ้น ก็ทำให้ Ethereum เริ่มกลับมามีบทบาทอีกครั้งในฐานะ “King of Smart Contract” เวลามีคนใหม่ๆเข้ามาในตลาดคริปโต แล้วเรื่องที่จะฝากเงินกับ DeFi ซักตัว Ethereum จะเป็น Blockchain อันดับแรกๆที่ทุกคนพูดถึง</p>
<!-- /wp:paragraph -->
<!-- wp:paragraph -->
<p>รวมไปถึงกระแสการมาของ NFT และ GameFi ในช่วงกลางปี 2021 ก็ยิ่งทำให้เกิดการใช้งานเครือข่าย Ethereum ที่มากขึ้น จนกระทั่งแพลตฟอร์ม “Opensea” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขาย NFT นั้น ก็กลายเป็น DApps จากฝั่ง Ethereum ที่มียอด Protocol Revenue สูงเป็นอันดับสอง และเกมสุดฮิตอย่าง Axie Infinity ที่มีการเปิดตัวบน Ethereum ก็ได้ทำยอด Protocol Revenue สูงเป็นอันดับหนึ่งตลอดกาลนับตั้งแต่ Ethereum เปิดตัวมาอีกด้วย</p>
<!-- /wp:paragraph -->
<!-- wp:paragraph -->
<p>กระแสดังกล่าวทำให้ผู้ใช้งานของ Ethereum เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสุดท้ายก็เหมือนเป็นดาบสองคม เพราะว่าเครือข่าย Ethereum เอง สามารถรองรับธุรกรรมได้เพียงแค่ 15 ธุรกรรมต่อวินาทีเท่านั้น และช่วง DeFi Summer ในปี 2021 ก็ยิ่งทำให้เครือข่าย Ethereum เกิดความแออัดเป็นอย่างมาก ค่าธรรมเนียมธุรกรรมแพง ล่าช้า แถมยังล้มเหลวอยู่บ่อยครั้ง </p>
<!-- /wp:paragraph -->
<!-- wp:heading -->
<h2 id="h-ethereum-blockchain-trilemma">ปัญหาของ Ethereum กับข้อจำกัดของ Blockchain Trilemma</h2>
<!-- /wp:heading -->
<!-- wp:image -->
<figure class="wp-block-image"><img src="https://blog.fasset.com/wp-content/uploads/2022/01/Blog-Featured-Image-Nov21-14.png" alt="Understanding Blockchain Trilemma | Market Intelligence" /></figure>
<!-- /wp:image -->
<!-- wp:paragraph -->
<p>สิ่งเดียวที่จะทำให้ Ethereum สามารถกลายเป็น Blockchain for Everyone ได้ ก็คงจะหนีไม่พ้นการเพิ่มการรองรับธุรกรรม (Scalability) เพื่อทำให้เครือข่ายสามารถทำงานได้เร็วขึ้นได้ ซึ่งตามกฎของ Blockchain Trilemma ที่ได้บอกถึงคุณสมบัติ 3 ข้อที่ Blockchain สามารถมีได้เพียง 2 ใน 3 เท่านั้น คือ ความปลอดภัย (Security) การรองรับธุรกรรมที่มากขึ้น (Scalability) และความกระจายศูนย์ (Decentralized) ดูเหมือน Ethereum จะขาดคุณสมบัติเพียงข้อเดียวคือ “Scalability”</p>
<!-- /wp:paragraph -->
<!-- wp:paragraph -->
<p>ปัญหานี้ได้อยู่ในใจของ Vitalik Buterin, ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum มาโดยตลอด จนกระทั่งในปี 2017 หรือหลังจากเขาได้เปิดตัว Ethereum มาเพียง 2 ปี เขาได้ประกาศว่า “เขาจะเปลี่ยน Ethereum ให้มีกลไกฉันทามติแบบ Proof of Stake แทน Proof of Work ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน” ซึ่งคือความคิดที่จะเปลี่ยน Ethereum ให้กลายเป็น Ethereum 2.0 จึงเริ่มขึ้นในปี 2017 นั่นเอง</p>
<!-- /wp:paragraph -->
<!-- wp:heading -->
<h2 id="h-ethereum-2-0">Ethereum 2.0 ถือกำเนิด </h2>
<!-- /wp:heading -->
<!-- wp:paragraph -->
<p><a href="https://bitcoinaddict.org/2022/07/16/ethereum-devs-confirm-the-perpetual-date-for-the-merge/">Ethereum 2.0</a> คือการเปลี่ยนกลไกฉันทามติจากเดิมที่เป็น Proof of Work ให้กลายเป็น Proof of Stake เพื่อช่วยให้เครือข่ายสามารถประหยัดการใช้พลังงานได้มากยิ่งขึ้น มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น มีความกระจายศูนย์ที่มากยิ่งขึ้น รวมถึงรองรับการทำธุรกรรมที่มากขึ้นได้ ซึ่ง “The Merge” ก็คือขั้นตอนสุดท้ายในการอัพเกรดไปเป็น Ethereum 2.0 โดยเป็นการนำเครือข่าย Ethereum Mainnet ที่เราใช้กันในปัจจุบันซึ่งเป็น Proof of Work นำมารวมเข้าด้วยกันกับ Beacon Chain ซึ่งเป็นเครือข่ายสำหรับการ Staking เหรียญ ETH ซึ่งใช้ระบบ Proof of Stake เพื่อเปลี่ยนระบบโดยรวมของ Ethereum จาก Proof of Work ให้กลายเป็น Proof of Stake นั่นเอง จึงเรียกได้ว่า The Merge นั้นเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญมากที่หลายคนจับตามอง เพราะจะพลิกโฉม Ethereum ไปอย่างมีนัยสำคัญ</p>
<!-- /wp:paragraph -->
<!-- wp:heading -->
<h2 id="h-the-merge">The Merge การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ หลังถูกเลื่อนนับครั้งไม่ถ้วน</h2>
<!-- /wp:heading -->
<!-- wp:paragraph -->
<p>โดยกว่าจะมาถึงขั้นของ The Merge นั้นก็ต้องผ่านการอัพเกรดหลายขั้นตอน ซึ่งระหว่างการอัพเกรดเหล่านี้นี่เองที่เป็นสาเหตุทำให้ The Merge นั้นถูกเลื่อนออกไปเรื่อยๆตั้งแต่ปี 2017 แต่เดิมที่ The Merge เคยถูกกำหนดว่าจะแล้วเสร็จตั้งแต่เดือนมกราคม 2020 ก็ถูกเลื่อนออกไปหลายครั้ง โดยการเลื่อนครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2017 ในช่วงการอัพเกรด Metropolis ที่ประกอบด้วย Byzantium Hard Fork (ซึ่งเป็น Fork ที่ลด Mining Reward จาก 5 ETH เป็น 3 ETH) ที่ทางทีมพัฒนาเกิดเจอปัญหาเกี่ยวกับการอัพเกรด Software ของ Parity Node ทำให้ Vitalik ตัดสินใจที่จะเลื่อน Hard Fork ครั้งนี้ออกไป </p>
<!-- /wp:paragraph -->
<!-- wp:paragraph -->
<p>นอกจากนี้ยังมีการ Delay ในการอัพเกรด Constantinopole (เป็น Fork ที่เปลี่ยน Ethereum ไปเป็นลูกผสมระหว่าง POS และ POW) ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อไปของการอัพเกรด Metropolis นั้นถูกเลื่อนออกไปด้วยจากปัญหาช่องโหว่ของ Code ที่ตรวจเจอระหว่างการ Audit ที่ทำโดยบริษัท ChainSecurity ทำให้แผนเดิมที่การอัพเกรด Metropolis ถูกวางแผนไว้ว่าจะเสร็จสิ้นในช่วงกลางปี 2018 ก็ต้องถูกเลื่อนออกไปเป็นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2019</p>
<!-- /wp:paragraph -->
<!-- wp:paragraph -->
<p>การเลื่อนครั้งต่อมาเกิดในช่วงการอัพเกรด Istanbul Hard Fork ที่เป็นขั้นตอนที่มีการอัพเกรดถึง 6 ข้อปรับปรุง (Ethereum Improvement Proposals หรือ EIPs) ด้วยกัน ตัวอย่างเช่น การ Optimise ค่าทำธุรกรรม, การเปลี่ยนแปลง Operation Code เพื่อรองรับ Scaling Solution อย่าง SNARKS และ STARKS เป็นต้น โดย Istanbul Hard Fork นี้มีการเลื่อนออกไปถึงสองครั้ง ซึ่งกำหนดการเดิมคือจะเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน 2019 โดยท้ายสุดนั้นก็เลื่อนออกไปและเสร็จสิ้นจริงๆในเดือนธันวาคม 2019 โดยสาเหตุของความล่าช้าเกิดจากมีทีมนักพัฒนาหลักส่ง EIPs มาให้ทีมงานพิจารณาจำนวนมากกว่า 30 EIPs ซึ่งภายหลังทางทีมงานคัดออกเหลือเพียงแค่ 6 EIPs และทีมต้องการเวลาเพิ่มเติมในการทดสอบ EIPs เหล่านี้</p>
<!-- /wp:paragraph -->
<!-- wp:paragraph -->
<p>การอัพเกรดต่อมาที่ถูกเลื่อนออกไปก็คือการ Deploy ของ Staking Deposit Contract ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญในการสร้าง Deposit Contract สำหรับรองรับ Proof of Stake นั่นเอง โดยขั้นตอนนี้ถูกเลื่อนออกไปจากกำหนดการณ์เดิมในเดือนตุลาคม 2020 ไปเป็นเดือนพฤศจิกายน 2020 โดยการเลื่อนนั้นมีสาเหตุมาจากความล่าช้าจากการ Audit ของ Crypto Library (BLST) ที่จัดการโดยบริษัท NCC Group </p>
<!-- /wp:paragraph -->
<!-- wp:paragraph -->
<p>ต่อมาทางทีมงานก็ได้เลื่อนการอัพเกรด Berlin hard Fork อีก โดยการอัพเกรดครั้งนี้ประกอบไปด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆเกี่ยวกับค่าทำธุรกรรม และการป้องกันการโจมตีแบบ Denial-of-service (DDOS) เป็นต้น ซึ่งเดิมที่ Berlin Hard Fork นั้นมีกำหนดการที่จะแล้วเสร็จในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2020 แต่ถูกเลื่อนออกไปเป็นในช่วงเดือนเมษายน 2021 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการรวมศูนย์ในไคลเอนท์ Geth ซึ่งโหนด Ethereum ส่วนใหญ่ทำงานอยู่</p>
<!-- /wp:paragraph -->
<!-- wp:paragraph -->
<p>จนกระทั่งปี 2022 จากเดิมที่กำหนดว่า The Merge จะเสร็จสิ้นในช่วงเดือนธันวาคม 2021 ก็ถูกเลื่อนออกไปเป็นเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2022 เนื่องมาจากไคลเอนท์ที่ยังไม่พร้อมสำหรับการ Merge แต่แล้วก็ถูกเลื่อนออกไปอีกครั้งเป็นเดือนสิงหาคม 2022 สาเหตุมาจากการเจอ Bugs บน Shadow Forks ของ Goerli </p>
<!-- /wp:paragraph -->
<!-- wp:paragraph -->
<p>ซึ่งขั้นตอนก่อนที่จะมีการผสานรวมกัน (The Merge) ในเครือข่าย Ethereum ตัวหลักนั้น ทีมนักพัฒนาก็ได้มีการทดสอบขั้นตอน The Merge ในตัวระบบ Testnet ไปแล้วทั้งหมด 2 ตัวในปีนี้ ได้แก่ Ropsten Testnet ในวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา และ Sepolia Testnet ในวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา และในตอนนี้ก็เหลือแค่การทดสอบ Merge ในตัว Goerli Testnet ซึ่งเป็นการทดสอบ Testnet ตัวสุดท้ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายในวันที่ 10 สิงหาคม ก่อนที่ขั้นตอน The Merge ตัว Ethereum Mainnet กับ Beacon Chain จะเกิดขึ้นจริง </p>
<!-- /wp:paragraph -->
<!-- wp:heading -->
<h2 id="h-eth-2-0-2022">สิ้นสุดการรอคอย ETH 2.0 จะมาแน่! เดือนกันยายน 2022 นี้</h2>
<!-- /wp:heading -->
<!-- wp:paragraph -->
<p>โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 19 กรกฏาคมที่ผ่านมา ทางคุณ Vitalik Buterin ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum ได้มีการอัพเดตแผนระยะยาวเกี่ยวกับการอัพเกรดครั้งสำคัญของ Ethereum ที่เรียกว่า “The Merge” ในงานประชุม EthCC ครั้งที่ 5 เอาไว้ว่า การอัพเกรด The Merge นั้น<a href="https://bitcoinaddict.org/2022/07/22/the-merge-testing-is-90-complete-says-ethereums-vitalik-buterin/">เสร็จสมบูรณ์ไปแล้วกว่า 90%</a> และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเครือข่ายให้กลายเป็น Ethereum 2.0 ในวันที่ 19 กันยายนนี้ ซึ่งก็ต้องมาติดตามว่าครั้งนี้จะมีการเลื่อนออกไปอีกหรือไม่</p>
<!-- /wp:paragraph -->
<!-- wp:paragraph -->
<p>โดยหลังจาก The Merge เสร็จสิ้นแล้ว จะทำให้เครือข่าย Ethereum ประหยัดพลังงานมากยิ่งขึ้น และมีอัตราการผลิตเหรียญ Ether ลดลงจากวันละ 15,000 ETH เหลือเพียงวันละ 1,200 ETH เท่านั้น (ยิ่ง Supply น้อย ยิ่งส่งผลต่อราคาในระยะยาว) และผู้ที่มา Stake ใน Ethereum 2.0 จะได้รับ Staking Yield ที่มากกว่าเดิมในปัจจุบันอีกด้วย (ปัจจุบัน Staking Yield ใน Beacon Chain อยู่ราวๆ 4%) แต่การอัพเกรด The Merge ก็ไม่ได้ทำให้เครือข่ายรองรับธุรกรรมที่มากขึ้นกว่าเดิมได้ แต่สิ่งที่จะทำให้เครือข่ายรองรับธุรกรรมได้มากขึ้น คือการอัพเกรดในขั้นตอน The Surge ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะเพิ่มความสามารถที่เรียกว่า Sharding ให้กับ Ethereum เพื่อให้เครือข่ายสามารถรองรับธุรกรรมได้มากยิ่งขึ้น โดยขั้นตอน The Surge นี้หากอ้างอิงตามแผน ก็จะเริ่มต้นในช่วงปี 2023 นั่นเอง</p>
<!-- /wp:paragraph -->
<!-- wp:paragraph -->
<p>เขียนบทความโดย คุณ เหมียว Kuljira Ittiamornkul - Researcher at Cryptomind Advisory และคุณ ออดี้ ศิวกร สมุทรทอง - Analyst at Cryptomind Advisory </p>
<!-- /wp:paragraph -->
<!-- wp:paragraph -->
<p>เรียบเรียงโดย ทีมงาน Bitcoin Addict Thailand</p>
<!-- /wp:paragraph -->
<!-- wp:paragraph -->
<p>ที่มา: <a href="https://www.coindesk.com/markets/2017/10/12/ethereum-software-sees-delay-ahead-of-byzantium-fork/">coindesk</a><a href="https://www.coindesk.com/tech/2020/12/01/ethereum-20-beacon-chain-goes-live-as-world-computer-begins-long-awaited-overhaul/"> coindesk(2)</a><a href="https://ethereum.org/en/history/"> Ethereum</a><a href="https://consensys.net/blog/news/everything-you-need-to-know-about-the-istanbul-hard-fork/"> consensys</a><a href="https://cryptonews.com/coins/ethereum/"> cryptonews</a><a href="https://bitcoinaddict.org/2021/02/20/ethereum-core-developers-mid-april-berlin-hard-fork/"> bitcoinaddict</a></p>
<!-- /wp:paragraph -->