Bitcoin Addict เปลี่ยนเว็บไซต์ใหม่เป็น www.bitcoinaddict.com

July 13, 2022
Featured|บทความ

สอนเทรด Future บนเว็บเทรด FTX คู่แข่งตัวฉกาจของ Binance

1) การเทรด Future คืออะไร?

Future หรือภาษาไทยเรียกว่า “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่เราจะสามารถซื้อ/ขายสินทรัพย์อ้างอิง ณ ราคาในสัญญาที่กำหนดในอนาคตได้ ซึ่งจุดประสงค์หลักของ Future นั้นก็คือการลดความเสี่ยงของเรา หากราคาสินทรัพย์นั้นๆมีราคาที่ผันผวนในอนาคต และทำให้เราไม่สามารถซื้อหรือขายสินทรัพย์นั้นๆในราคาที่เราคาดหวังไว้ได้

และอีกหนึ่งข้อดีของการเทรด Future ก็คือเราสามารถหาโอกาสในการทำกำไรกับสินทรัพย์นั้นๆได้ทั้งขาขึ้นและขาลงเลย เนื่องจากตลาดสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือคริปโต ต่างก็มีแรงเก็งกำไรจาก Trader ทั่วโลกเป็นปกติอยู่แล้ว และ Trader แต่ละคนก็ไม่ได้มีมุมมองต่อราคาของสินทรัพย์นั้นๆที่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เราจึงสามารถใช้ Future ในการลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน และเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้กับพอร์ตการลงทุนของเราได้อีกด้วยเช่นกัน

ด้วยความที่ Future เป็นทั้งเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง และเครื่องมือในการเก็งกำไร จึงทำให้เราสามารถใช้งาน Leverage หรือการกู้ยืมเงินเพื่อมาลงทุนสำหรับเพิ่มอัตราผลตอบแทนของเราขณะที่เราใช้งาน Future ได้ ดังนั้น การใช้งาน Future ก็มีความเสี่ยงที่เราจะโดนยึดสินทรัพย์ (Liquidation) ในขณะลงทุนได้นั่นเอง

รูปภาพจาก : https://marketbusinessnews.com/short-positions-cryptocurrency-trades/242553/

2) ผลิตภัณฑ์ของ Future ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

วิธีการทำกำไรด้วย Future ประกอบด้วย 2 ประเภทคือการ Long และการ Short นั่นเอง โดยการ Long หมายถึงการที่เราคาดการณ์ไว้ว่าสินทรัพย์อ้างอิงนั้นๆจะมีราคาที่สูงขึ้นในอนาคต การเปิด Long Position จึงหมายถึงการที่เราไปยืมเงิน (Leverage) คนอื่นเพื่อมาซื้อสินทรัพย์ และทำการขายในอนาคตและค่อยนำเงินส่วนนี้ไปคืน 

ส่วนการ Short หมายถึงการที่เราคาดการณ์ ว่าสินทรัพย์อ้างอิงนั้นๆจะมีราคาต่ำลงในอนาคต การเปิด Short Position จึงหมายถึงการที่เราไปยืมสินทรัพย์อ้างอิงจากตลาดนำมาขายในตอนนี้ และจะซื้อคืนให้แก่ตลาดในอนาคตตอนที่ราคาสินทรัพย์นั้นๆถูกลง

ยกตัวอย่างเช่น หากเราเป็นพนักงานบริษัทหนึ่งที่มีการจ่ายเงินเดือนเป็นเหรียญ Bitcoin และเรากำลังจะได้รับเงินเดือนในอีก 1 อาทิตย์ข้างหน้า ซึ่งถ้าสมมุติเราคาดการณ์ไว้ว่า ในอีก 1 อาทิตย์ข้างหน้าตอนช่วงเงินเดือนจะออกนั้น Bitcoin จะราคาลง แน่นอนอยู่แล้วว่าเราไม่สามารถขอรับเงินเดือนมาก่อนล่วงหน้าและนำมาขายในวันนี้เพื่อป้องกันราคา Bitcoin ร่วงในอนาคตได้ แต่สิ่งที่เราสามารถทำได้คือ “การ Short Bitcoin” ทำให้หากราคา Bitcoin เกิดร่วงจริงๆในวันที่เงินเดือนออก อย่างน้อยเราก็จะได้กำไรจาก Short Position ของเรา และเราก็สามารถนำ Bitcoin ของเราไปขายในช่วงราคาที่เหมาะสมได้

กลับกัน หากเราเป็นเจ้าของธุรกิจส่งออกสินค้าชนิดหนึ่ง มีนัดกับลูกค้าว่าจะขายสินค้าล็อตใหญ่ให้ภายใน 3 เดือนข้างหน้า แต่ปรากฎว่าลูกค้าต้องการสินค้าภายในวันนี้และเรามีของพร้อมส่งพอดี แต่เราก็คาดการณ์แล้วว่าราคาสินค้าในอีก 3 เดือนหน้าข้างจะสูงกว่าราคาในปัจจุบัน สุดท้ายทำอะไรไม่ได้จึงจำเป็นต้องขายสินค้าภายในวันนี้ เพราะฉะนั้นเจ้าของธุรกิจจึงควร “Long สินค้าชนิดนี้” เพื่อไม่ให้เป็นค่าเสียโอกาสหากราคาสินค้าสูงขึ้นในอนาคตนั่นเอง 

3) ประเภทของ Future

สัญญา Future แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ “มีวันหมดอายุ” และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบ ”ไม่มีวันหมดอายุ” โดย Future แบบมีวันหมดอายุ คือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีการกำหนดอายุของสัญญาว่าเราจะต้องทำการปิดสัญญาภายในเดือนอะไรหรือปีอะไร ส่วน Future แบบไม่มีวันอายุ หรือเรียกอีกชื่อนึงว่า Perpetual Future คือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เราสามารถถือครองสัญญาไปได้เรื่อยๆจนกว่าเราจะปิด และไม่จำเป็นต้องมีการส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิงซึ่งกันและกันนั่นเอง

โดยการที่ Perpetual Future นั้นไม่จำเป็นต้องมีการส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิงเหมือน Future แบบมีวันหมดอายุ จึงทำให้มันไม่มีการถูกควบคุมราคา ณ วันที่ปิดสัญญา ดังนั้นราคาสินทรัพย์อ้างอิงภายในตลาด Spot และตลาด Future จึงมีโอกาสคลาดเคลื่อนกันได้ และเพื่อลดความคลาดเคลื่อนนี้ จึงได้มีการออกแบบสิ่งที่เรียกว่า “Funding Rate” ออกมา

รูปภาพจาก : https://medium.com/derivadex/what-is-the-funding-rate-for-perpetual-swaps-a0335c4228a9

Funding Rate คือค่าธรรมเนียมที่ผู้เปิดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะต้องทำการจ่ายซึ่งกันและกันเพื่อเป็นการควบคุมราคาสินทรัพย์อ้างอิงของตลาด Spot และตลาด Future ให้มีค่าเท่ากันมากที่สุด โดยหาก Funding Rate มีค่าเป็นบวก ซึ่งก็คือราคาของสินทรัพย์อ้างอิงในตลาด Future มีค่ามากกว่าตลาด Spot หรือมีคนทำการ Long มากกว่า Short ดังนั้นผู้ที่ทำการ Long จะต้องจ่ายค่า Funding Fee ให้กับผู้ที่ทำการ Short และหาก Funding Rate มีค่าเป็นลบ ซึ่งก็คือราคาของสินทรัพย์อ้างอิงในตลาด Future มีค่าน้อยกว่าตลาด Spot หรือมีคนทำการ Short มากกว่า Long ดังนั้นผู้ที่ทำการ Short จะต้องจ่ายค่า Funding Fee ให้กับผู้ที่ทำการ Long นั่นเอง

4) FTX คืออะไร?

FTX คือเว็บเทรดคริปโตเคอร์เรนซี่ที่มีบริการต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Spot Trading, Future Trading, Tokenized Stock Trading, Leverage Token และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งทำไมวันนี้เราถึงมาเล่าเป็น Exchange ของ FTX นั่นก็เพราะว่าทาง FTX มีวิสัยทัศน์ที่น่าสนใจคือ “แพลตฟอร์มเทรดที่สร้างโดยผู้เทรด เพื่อผู้เทรดอย่างแท้จริง” เนื่องมาจากคุณ Sam Bankman-Fried เจ้าของเว็บเทรด FTX เป็น Arbitrage Trader ที่เทรดเหรียญคริปโตมาเป็นเวลานาน ทำให้เขาจึงเข้าใจความต้องการของลูกค้าสายเทรดอย่างแท้จริงว่าในเว็บเทรดหนึ่งเว็บนั้นควรจะมีคุณสมบัติอะไรที่จะรองรับนักเทรดมือใหม่และนักเทรดมืออาชีพได้บ้างนั่นเอง

ด้วยความใช้งานง่ายของ FTX และฟีเจอร์ต่างๆที่ดึงดูดเทรดเดอร์จากทั่วโลกให้เข้ามาใช้งาน FTX จึงเป็นหนึ่งใน Centralized Exchange ที่มียอด Trading Volumn ติด Top 10 จากทั่วโลกมาอย่างยาวนาน มียอด Derivatives Trading ในต้นปี 2022 เป็นอันดับสองรองจาก Binance และในปี 2021 นั้น FTX มียอดการเติบโตของ Trading Volumn มากถึง 2,400% เลยทีเดียว

5) วิธีการเทรด Future บน FTX

สัญญา Future บน FTX นั้นมีหลากหลายเหรียญมาก ไม่ว่าจะเป็น BTC, ETH, SOL, AVAX, MATIC, APE, BNB และเหรียญอื่นๆอีกมากมาย นอกจาก Perpetual Future แล้ว ทาง FTX ก็ยังมีสัญญา Future ประเภทอื่นๆด้วย ได้แก่ December 2022 (เช่น BTC-1230, ETH-1230) ก็คือสัญญา Future ที่หมดอายุในวันที่ 30 เดือนธันวาคม 2022, September 2022 (เช่น BTC-0930, ETH-0930) คือสัญญา Future ที่หมดอายุในวีนที่ 30 เดือนกันยายน 2022 และยังมีเทรด Index ของแต่ละ Sector อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ALT-PREP (Altcoin Index), DEFI-PREP (DeFi Index) และ EXCH-PREP (Exchange Token Index) เป็นต้น 

ซึ่งขั้นตอนการเทรด Future บน FTX บอกได้เลยว่าไม่ยากอย่างที่คิด วันนี้ก็จะมาสอนทีละ Step แบบเข้าใจง่ายกันเลยดีกว่า

5.1) เข้าไปที่เว็บไซต์ https://ftx.com/markets จากนั้นกดที่หัวข้อ “Future” ก็จะเห็นประเภทของ Future ต่างๆและเหรียญที่สามารถเทรด Future ได้ ซึ่งเราก็จะเห็นข้อมูลของสัญญา Future แต่ละเหรียญไม่ว่าจะเป็น 24h Volumn หรือปริมาณเทรด 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา, ราคาเหรียญในตลาด Future, การเปลี่ยนแปลงของราคาเหรียญ และ Open Interest คือปริมาณการเปิด Position ทั้ง Long และ Short ในเหรียญนั้นๆ

โดยวันนี้เราจะมาสอนวิธีการเทรด Future ของ Perpetual หรือสัญญาที่ไม่มีวันหมดอายุกัน ซึ่งเหรียญที่จะมาสาธิตในวิธีการสอน ก็ขอเลือกเป็น BTC-PREP เนื่องจากเหรียญส่วนใหญ่ในตลาดนั้นมี Correlation ตาม Bitcoin หากราคาเหรียญ Bitcoin ไปทางไหน Altcoin ต่างๆก็จะเคลื่อนไหวตามราคา Bitcoin นั่นเอง

5.2) กดเข้ามาแล้วก็จะเจอหน้าตาแบบนี้ ก็จะขอแบ่งรูปภาพออกเป็นสามส่วนคือ ซ้าย กลาง ขวา โดยฝั่งซ้ายจะเป็นกราฟราคา BTC/USD ของ FTX ในตลาด Derivatives Market เพราะฉะนั้นราคาจะไม่เท่ากับ BTC/USD ที่เป็น Spot Market ส่วนรูปกลางจะเป็นรายการ Order Book ฝั่งคนเสนอซื้อและเสนอขาย Position ต่างๆ 

และฝั่งขวาจะเป็นเครื่องมือในการเล่น Future ของเรานั่นเอง

5.3) สองภาพด้านบนคือการซูมรูปภาพในหัวข้อ 5.2) ออกมา ประกอบไปด้วย

  • Index Price : ราคา BTC ที่เราตั้ง Position ให้ซื้อหรือขาย
  • Mark Price : ราคา BTC ในปัจจุบันของตลาด Derivatives
  • Next Funding Time : เวลาที่จะมีการจ่าย Funding Fee เกิดขึ้น
  • Predicted Funding Rate : หากติดลบ แสดงว่าในปัจจุบันมีคน Short มากกว่า Long และคนที่เปิด Short Position จะต้องจ่ายค่า Funding Fee ให้กับคนที่เปิด Long Position 
  • Total Collateral : เงินทุน/หลักประกันทั้งหมดของเรา
  • Free Collateral : หลักประกันที่นำไปใช้ได้หลังหักค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์ม
  • Max Position Leverage : ใช้ Leverage ที่ 5 เท่าของเงินทุน และจำนวนเท่าของ Leverage ภายใน FTX จะสามารถใช้ได้ตั้งแต่ 1x 2x 3x 5x 10x และสูงสุดที่ 20x ซึ่งตามภาพหากเรามีหลักประกัน $100 แล้วใช้ Leverage ที่ 5x เท่ากับว่าเราจะได้กำไรจากการเปิด Position มากที่สุดคือ $500 (ภาพขวาที่โชว์ตัวเลข $497.35 เนื่องจากเป็นกำไรที่เป็นไปได้ทั้งหมดหลังหักค่าธรรมเนียม)
  • Buy BTC-PREP : ทำการเปิด Long Position
  • Sell BTC-PREP : ทำการเปิด Short Position

ในขั้นตอนนี้เราจะต้องเลือก Collateral ที่จะวางไว้, คำนึงถึง Position Size และคำนวน Leverage ในการเทรดทุกครั้งด้วย หากเป็นมือใหม่แนะนำว่าไม่ควรใช้ Leverage มากๆเพราะจะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เงินต้นหายทั้งหมดได้ ประกอบกับเราควรมีจุด Stop Loss/Cut Loss รวมถึงมีการคำนวน Risk/Rewards ให้ชัดเจนทุกครั้งก่อนการเปิด Position อีกด้วย 

และหลังจากเลือกว่าจะเปิด Long หรือ Short Position แล้ว, ทำการตั้งราคา Limited Order เพื่อที่จะรอเปิด Position เหรียญ Bitcoin ณ ราคานั้นๆแล้ว, รวมถึงเลือก Leverage ตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้เรียบร้อยแล้ว จากนั้นก็กด Buy หรือ Sell เพื่อเป็นการเปิด Position ได้เลย

5.4) การสาธิตครั้งนี้เราจะลองเปิด Short Position ของ BTC ซุ้งหลังจาก Position ของเราจับคู่กับ Order Book อื่นๆในตลาดแล้ว เราก็สามารถดูผลประกอบการ Position ของเราได้เลย ไม่ว่าจะเป็น

  • Side : Long หรือ Short Position
  • Position Size : ปริมาณการเปิด Postion ทั้งหมดในเหรียญนี้ (หน่วย : BTC)
  • Notional Size : ปริมาณการเปิด Postion ทั้งหมดในเหรียญนี้ (หน่วย : USD)
  • Est. Liquidation Price : ราคาของ BTC หากไปแตะที่ $21,639 แล้วไม่มีการเติม Margin เพื่อเพิ่มหลักประกัน สินทรัพย์ค้ำประกันของเราจะถูกยึด
  • Mark Price : ราคา BTC ในปัจจุบันของตลาด Derivatives
  • PnL : กำไร/ขาดทุนที่ยังไม่เป็นตัวเงินทั้งหมด
  • Avg Open Price : ราคาเฉลี่ยตอนเราเปิด Position
  • Break-even Price : ราคาเฉลี่ยของ BTC หากราคาลงไปแตะ $20,178 เราจะคืนทุน Position ของเรา (เนื่องจากเงินส่วนนึงถูกนำไปหักค่าธรรมเนียมการเทรด)

เพราะฉะนั้น เนื่องจากมันเป็น Perpetual Future เราจึงสามารถเปิด Position ของเราไปเรื่อยๆได้จนกว่าเราจะถึงพอใจ แต่ถึงยังไงก็ต้องระวังเรื่อง Funding Rate และค่าเสียโอกาสของเงินทุนและกำไรในส่วนนี้ด้วยนั่นเอง

6) สรุปการใช้งาน Future บน FTX

โดยสรุปแล้ว ฟีเจอร์ต่างๆบน FTX นั้นมีความเข้าถึงนักลงทุนทุกคนเป็นอย่างมาก จากทั้ง UX/UI ที่ใช้งานง่าย มีบริการหลากหลายประเภทให้ทดลองใช้ มีคู่เทรด Future ที่หลากหลาย มีประเภทของ Future ที่หลากหลายทั้งแบบหมดอายุและไม่หมดอายุ ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงทำให้แพลตฟอร์ม FTX ครองใจเทรดเดอร์มาเป็นระยะเวลานาน

แต่สุดท้ายแล้ว การใช้งานสัญญา Future จุดประสงค์หลักของมันคือการป้องกันความเสี่ยงต่างๆที่อาจทำให้บริษัทต้องเสียหายในอนาคตได้ ฉะนั้นหากใครนำ Future มาใช้ในทางการเก็งกำไร ก็ควรจะศึกษาความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้, บริหารเงินลงทุนของตนเองให้ดี และไม่ควรใช้ Leverage ที่มากจนเกินไปนั่นเองครับ

อ้างอิงจาก : https://help.ftx.com/hc/en-us/articles/360024780791-What-Are-Futures-

บทความที่คุณอาจสนใจ