Bitcoin Addict เปลี่ยนเว็บไซต์ใหม่เป็น www.bitcoinaddict.com
การบริหารความเสี่ยง คือหนึ่งในสิ่งที่นักเทรดที่ประสบความสำเร็จมีเหมือน ๆ กัน และการใช้อัตรา Drawdown คืออีกวิธีควบคุมความเสี่ยงที่ได้รับการยอมรับจากนักเทรดทั่วโลก ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องของ Drawdown ว่าคืออะไร คำนวณอย่างไร พร้อมตัวอย่างวิธีใช้ที่เหมาะสมไปด้วยกัน
Drawdown แปลว่ายอดขาดทุนสะสม หรือ DD ซึ่งก็คือเปอร์เซ็นต์การลดลงรวมของมูลค่าสินทรัพย์หรือพอร์ตลงทุน ยกตัวอย่าง เดิมทีพอร์ตมีต้นทุน 10,000 บาท แต่เทรดขาดทุนไป 1,000 บาท เหลือ 9,000 บาท เท่ากับว่ามี Drawdown อยู่ที่ 10% และต่อมาสามารถทำกำไรได้ 2,000 บาท ทำให้ตอนนี้พอร์ตมีเงินอยู่ 11,000 บาท แต่ค่า Drawdown ก็ยังคงอยู่ที่ 10% เพื่อบอกว่าพอร์ตของเราเคยติดลบไป 10% นั่นเอง
ค่า Drawdown มีประโยชน์อย่างมากในการบริหารความเสี่ยงจาการเทรด เนื่องจากสามารถช่วยให้นักเทรดทราบว่าควรหยุดเทรดและหันมาให้ความสำคัญกับการวางแผนใหม่เพื่อป้องกันความเสี่ยง โดยทั่วไปแล้วนักเทรดจะควบคุมค่า Drawdown ไม่ให้เกิน 20 - 30%
สมมติว่านักลงทุนเข้าซื้อเหรียญหนึ่งที่ราคา 500 บาท จากนั้นราคาเหรียญปรับขึ้นไปทำระดับสูงสุด 550 บาท แต่ต่อมาปรับลดลงทำระดับต่ำสุดที่ 450 บาท และสามารถกลับขึ้นมาที่ 550 บาทได้อีกครั้ง หมายความว่ามีค่า Drawdown อยู่ที่ 18.18%
โดยวิธีการคำนวณจะนำราคาที่จุดสูงสุด (550 บาท) ลบกับราคาที่จุดต่ำสุด (450 บาท) ซึ่งก็คือ 100 บาท นำไปหารกับราคาสูงสุดที่ 550 บาท และคูณกับ 100 เพื่อหาค่าเปอร์เซ็นต์ออกมา (100 ÷ 550 x 100) ก็จะได้ค่า Drawdown ที่ 18.18% นั่นเอง
ทั้งนี้ ค่า Drawdown ไม่ได้เท่ากับอัตราขาดทุนเสียทีเดียว สมมติตอนนี้ราคาเหรียญกำลังอยู่ที่ 475 บาท ทำให้นักเทรดมีอัตราขาดทุนอยู่ที่ 5% แต่เนื่องจากราคาเคยลงไปทำต่ำสุดที่ 450 บาท และสูงสุดที่ 550 บาทค่า Drawdown ก็ยังคงเป็น 18.18% เพื่อแสดงให้เห็นยอดขาดทุนสะสมของนักเทรด
Drawdown สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้
การคำนวณ Absolute Drawdown หรือ Absolute DD จะใช้ “มูลค่าเงินลงทุนตั้งต้น” เสมอ ซึ่งเหมาะมากสำหรับนักเทรดมือใหม่ที่ต้องการปกป้องเงินลงทุนตั้งต้นจากการสูญเสียในอนาคต โดย Absolute Drawdown มักจะแสดงผลอยู่ในรูปแบบของร้อยละ (%)
ยกตัวอย่าง หากกำหนดให้สามารถมี Absolute Drawdown ได้ที่ 10% และเงินลงทุนตั้งต้นอยู่ที่ 10,000 บาท หมายความว่านักเทรดจะสามารถขาดทุนได้เต็มที่ 1,000 บาท ไม่ควรขาดทุนมากไปกว่านี้
Maximal และ Relative Drawdown มีความคล้ายกันตรงที่เป็นการนำ “มูลค่าสูงสุด” ของพอร์ตลงทุนมาคำนวณ ทั้ง 2 แบบแตกต่างกันที่การแสดงผล โดยส่วนมาก Maximal Drawdown จะแสดงผลเป็นจำนวนเงิน (บาท) ขณะที่ Relative Drawdown มักจะแสดงผลเป็นร้อยละ (%)
ยกตัวอย่าง หากกำหนดให้สามารถมี Relative Drawdown ได้ที่ 10% และเงินลงทุนตั้งต้นอยู่ที่ 10,000 บาท หมายความว่าสามารถขาดทุนได้สูงสุด 1,000 บาท แต่อัตราขาดทุนที่สามารถยอมรับได้นี้จะขยับขึ้นตามผลกำไรที่ทำได้ เช่น ถ้าสามารถทำกำไรได้และเงินในพอร์ตเพิ่มขึ้นมาเป็น 12,000 บาท อัตราขาดทุนที่ยอมรับได้ก็จะขยับตามขึ้นมาเป็น 1,200 บาท เป็นต้น
วิธีควบคุมให้อัตรา Drawdown อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ มีวิธีที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
1.เคารพอัตรา Drawdown ที่ตั้งไว้
เชื่อว่านักเทรดทุกคนย่อมเคยอ่อนไหวไปตามอารมณ์ โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังขาดทุน ถึงกระนั้นนักเทรดกลับไม่ยอมตัดขาดทุน เพราะมีความหวังว่าอาจสามารถฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้ แต่ไม่มีใครสามารถคาดเดาทิศทางราคาได้ 100% ดังนั้น หากนักเทรดตัดสินใจกำหนดอัตรา Drawdown มาแล้วก็ควรเคารพกฏที่ตั้งไว้เมื่อถึงเวลา
การตั้งจุด Stop Loss หรือจุดตัดขาดทุน คือวิธีควบคุมความเสี่ยงที่นักเทรดควรทำทุกครั้งเมื่อส่งคำสั่งซื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดทุนหนักและควบคุมให้ความเสี่ยงยังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
Reward to Risk Ratio (RRR) หรืออัตราส่วนระหว่างผลตอบแทนกับความเสี่ยงที่คาดว่าจะได้รับ โดยอัตราส่วน RRR ที่เหมาะสมควรมีผลตอบแทนสูงกว่าระดับ Stop Loss หรือมีอัตราส่วนผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยงที่ประมาณ 1.5:1
เฉพาะกับการเทรดบนแพลตฟอร์มที่รองรับการเทรดแบบมี Leverage ซึ่งมีโอกาสจะสามารถสร้างผลตอบแทนเป็นกอบเป็นกำให้กับนักลงทุนได้ก็จริง แต่ก็มีความเสี่ยงทีการเทรดจะล้มเหลวและทำให้ขาดทุนจนถึงอัตรา Drawdown ที่ตั้งไว้เร็วกว่าที่คิด หากนักเทรดยังเป็นมือใหม่ก็ควรเลี่ยงการเทรดแบบมี Leverage ไปก่อนจนกว่าจะมีประสบการณ์มากกว่านี้
Drawdown หมายถึงยอดขาดทุนสะสมที่สามารถยอมรับได้ โดยคำนวณจากมูลค่าเริ่มต้นพอร์ตหรือมูลค่าสูงสุดเทียบมูลค่าต่ำสุด ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการบริหารความเสี่ยงจาการเทรด เพราะสามารถช่วยให้นักเทรดทราบว่าควรปรับกลยุทธ์การเทรดใหม่อีกครั้งเมื่อไหร่