Bitcoin Addict เปลี่ยนเว็บไซต์ใหม่เป็น www.bitcoinaddict.com
Bitcoin คืออะไร? เงินดิจิทัล? เงินที่ไม่มีตัวกลาง? สินทรัพย์ชนิดใหม่? เงินเถื่อน? สินทรัพย์เก็งกำไร? Blockchain คืออะไร? ฟองสบู่ชนิดใหม่? เมื่อเราพูดถึง Bitcoin หลายคนคงมีคำตอบในใจของตัวเองว่ามันคืออะไร บ้างก็ยังมีความเคลือบแคลงว่าเงินที่ไม่สามารถจับต้องได้ ทำไมถึงเป็นที่นิยมขึ้นมาในสิบปีที่ผ่านมา เพื่อที่จะให้ได้คำตอบนี้อย่างถ่องแท้ เราจะไปค้นหาคำตอบนี้ในยุคสมัยก่อนที่ Bitcoin จะกำเนิดขึ้นมาก่อนจะดีกว่า
โลกแห่งอินเทอร์เน็ต ระบบการเงินและความล้มเหลวของตัวกลาง
เมื่ออินเทอร์เนตกำเนิดขึ้นมาบนโลก มนุษย์ชาติก็ได้รู้ว่าข้อมูลข่าวสารนั้นสามารถส่งหากันได้ทั่วโลกแล้ว แต่มนุษย์ชาติก็ได้พบความจริงอีกหนึ่งสิ่งนั้นคืออินเทอร์เนตนั้นไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถควบคุมได้ และนั้นทำให้อินเทอร์เนตเต็มไปด้วยข้อมูลที่มากมายจริงบ้างหลอกลวงบ้าง และนั้นทำให้มนุษย์ชาติได้ทราบว่า มันเป็นไปได้ยากมาที่จะเชื่อถือข้อมูลใดๆบนอินเทอร์เนตยิ่งข้อมูลนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างข้อมูลทางการเงิน
ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์และระบบการเงินที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในแต่ละยุคนั้นมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการทำให้เม็ดเงินสามารถหมุนเวียนในระบบได้ดีขึ้นเรื่อยๆเพราะในทางเศรษฐศาสตร์เศรษฐกิจที่ดีคือการที่เม็ดเงินสามารถหมุนไปในระบบได้อย่างไม่ติดขัดและมีสภาพคล่องที่ดี และหมายความว่าถ้าเราสามารถส่งเงินได้เร็วเท่ากับความเร็วของอินเทอร์เนตก็จะทำให้ระบบการเงินของโลกเติบโตและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นไปอีกระดับนึง
ซึ่งมนุษย์ชาติก็แก้ปัญหาด้วยการสร้างตัวกลางตัวหนึ่งขึ้นมาดูแลข้อมูลทางการเงิน ซึ่งนั้นก็คือธนาคารนั้นเองแต่ตัวกลางอย่างธนาคารนั้นมีข้อบ่งพร่องที่ร้ายแรงอยู่สามข้อ
ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็ดำเนินมาจนในช่วงปี 2007-2008 ในช่วงวิกฤตสินเชื่อด้อยคุณภาพของอสังหาริมทรัพย์อเมริการซึ่งเกิดจากความโลภของนายธนาคารทำให้ธนาคารสหรัฐต้องผลิตเงินจำนวนมากเพื่ออุ้มเศรษฐกิจ
ผู้สร้าง Bitcoin นามว่า Satoshi Nakamoto
“ผมกำลังสร้างเงินอิเล็คทรอนิคส์ที่สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ตัวกลางใดๆ” มีโปรแกรมเมอร์ปริศนาที่ใช่นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto ซึ่งปัจจุบันก็ไม่มีใครทาราบว่าเขาเป็นใคร เขาได้เผยแพร่ White paper ของ Bitcoin ที่เรียกว่า “BITCOIN: A PEER-TO-PEER ELECTRONIC CASH SYSTEM” เป็นการเปิดตัวเงินดิจิทัลที่เปลี่ยนหน้าของประวัติศาสตร์การเงิน ลงในอินเทอร์เน็ต และเปิดทำงานระบบ Bitcoin ตั้งแต่ปี 2009 และระบบ Bitcoin ก็ยังทำงานอยู่จนถึงปัจจุบัน
หมายเหตุ : ใน Genesis Transaction หรือข้อมูลการทำธุรกรรมของ Bitcoin แรกนั้น Satoshi ได้แฝงข้อความว่า “The Times 03/Jan/2009 Chancellor on brink of second bailout for banks” ซึ่งเป็นพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ Time ที่มีหมายถึง รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษกำลังจะผลิตเงินเพิ่มเข้าไปในระบบเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งดูเหมือนเป็นการประชดประชันรัฐบาล
คุณสมบัติของระบบ Bitcoin
ในเมื่อตัวกลางเดียวเป็นปัญหางั้นเราก็สร้างระบบที่รองรับโดยตัวกลางหลายๆตัวสิ และนั้นเป็นแนวคิดของ Bitcoin ปกติแล้วระบบทั่วไปหรือซอฟต์แวร์ต่างๆจะมีลักษณะของศูนย์กลางมีเพียงแค่จุดเดียวหรือกลุ่มเดียว แต่ Bitcoin กลับนำเสนอแนวคิดที่ทุกคนสามารถเข้าร่วมกับระบบได้เพียงแค่ดาวโหลดโปรแกรมของ Bitcoin มาก็สามารถเข้าร่วมได้อย่างอิสระโดยปราศาจากเงื่อนไข ทำให้ระบบมันถูกเรียกว่าระบบกระจายศูนย์ (Decentralized) ทำให้มันเป็นระบบการเงินระบบแรกของโลกที่ไม่สามารถถูกแทรงแซงหรือล้มล้างได้โดยรัฐบาลใดๆเพราะมีคอมพิวเตอร์ของระบบ Bitcoin ทำงานอยู่ทั่วโลก
และนั้นทำให้ระบบการโอนเงินของ Bitcoin ไม่ขึ้นกับตัวกลางใดๆในปัจจุบันเราสามารถโอน Bitcoin ข้ามประเทศได้โดยเสียค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 70 สตางค์ไปจนถึง 100 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนการโอนซึ่งจะเสร็จสิ้นกระบวนการโอนภายในเวลา 1 ชั่วโมงไปจนถึง 1 วัน หรือเร็วกว่านั้นขึ้นกับผู้ให้บริการและค่าธรรมเนียม
Blockchain บัญชีสาธารณะที่ป้องกันการปลอมแปลงได้
เทคโนโลยี Blockchain นั้นฟังดูเข้าใจยากแต่ด้วยพื้นฐานแล้ว Blockchain ไม่ต่างอะไรกับการบันทึกบัญชีเงินเข้าเงินออกแม้แต่นิดเดียว จุดที่แตกต่างคือ ข้อมูลแต่ละจุดหรือที่เราเรียกว่า Block จะมีการเชื่อมโยงกันอยู่เสมอเช่น ถ้ามีการโอนเงินจาก A->B 50 BTC บรรจุลงใน Block ที่ 1 และมีการโอนของ B->C 25 BTC อยู่ใน Block ที่ 2 ใน Block ที 2 นั้นจะไม่ได้เก็บเพียงแค่ข้อมูลการโอนของตัวเองเท่านั้นแต่จะเก็บข้อมูลการโอนของ Block ที่ 1 ก่อนหน้าด้วยและการอ้างอิงนี้เองเป็นที่มาของคำว่า chain ข้อมูลที่เก็บใน Blockchain จะถูกเก็บใน Block อ้างอิงด้วย Chain ทำให้หากเกิดการปลอมแปลงข้อมูลใน Block นั้นเป็นไปไม่ได้เพราะมีข้อมูลอ้างอิงถึงกันเสมอ
หมายเหตุ : Blockchain นั้นเป็นบัญชีสาธารณะที่ใครก็สามารถดูได้ โดยมันจะบันทึกตั้งแต่ธุรกรรมแรกที่ Bitcoin ถือกำเนิดขึ้นมาจนปัจจุบันสามารถเข้าไปดูได้ที่ blockexplorer.com แต่เราจะไม่รู้ว่า Address ที่โอนไปมานั้นเป็นของใคร
Cryptography หรือการเข้ารหัส
ระบบของ Bitcoin ไม่ว่าจะข้อมูลธุรกรรมหรือการยืนยันบัญชีผู้ใช้นั้น จะใช้หลักการเข้ารหัสเข้ามาช่วยให้ปลอดภัยและเพิ่มความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ตัวอย่างการเข้ารหัสง่าย ๆ เช่นผมอยากบอกคุณว่า ‘hello’ แต่ผมกลัวคนอื่นจะรู้ก็เลยเลื่อนอักษรไป 1 ตัวจึงกลายเป็นคำว่า ‘ifmmp’ ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างง่าย ๆ เท่านั้น Cryptography ที่ใช้ในระบบของ Bitcoin นั้นมีความปลอดภัยสูงมาก โดยระบบบัญชีของ Bitcoin จะแบ่งเป็น Address กับ Private Key โดยตัว Private key จะเหมือนกับ Password ในการยืนยันความเป็นเจ้าของบัญชี และหากเรามี Address ของ Bitcoin 1 ตัวแล้วเราอยากจะหา Private key ความน่าจะเป็นในการเดาสุ่ม Private Key ได้ถูกต้อง คือ 1/(2^256) ซึ่งมันเป็นเลขที่มหาศาลมาก ๆ ต่อให้เรารวบรวมคอมพิวเตอร์ของคนทั้งโลกมาเพื่อมาหา Private key ของ Bitcoin อาจจะใช้เวลานับล้านปีก็เป็นไปได้
หมายเหตุ : สิ่งที่น่าสนใจในระบบของ Bitcoin คือ Private key ที่ใช้ในการยืนยันความเป็นเจ้าของบัญชีนั้น จะมีเราเป็นผู้ใช้งานคนเดียว ไม่มีใครนำ Bitcoin ของเราออกมาได้หากเราไม่ได้มอบ Private key ไม่เหมือนกันระบบธนาคาร ที่ธนาคารสามารถอายัดเงินเราได้เช่น ในกรณีของ คดีหวย 30 ล้านที่ลุงจรูญโดนอายัดบัญชี ถ้าลุงจรูญใช้ Bitcoin เหตุการณ์นี้จะไม่เกิดขึ้น
ระบบการขุดเพื่อยืนยันธุรกรรม (Mining)
ในระบบธนาคารทั่วไปผู้ตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมคือธนาคาร หรือบางครั้งธนาคารก็อาจจะมีผู้ตรวจสอบบัญชีมาตรวจสอบธนาคารอีกที แต่ระบบของ Bitcoin นั้นไม่มีตัวกลาง จึงต้องหาคนที่มาตรวจสอบธุรกรรมและนั่นก็คือ นักขุด โดยนักขุดที่ช่วยตรวจสอบธุรกรรมของ Bitcoin ก็จะได้ค่าแรงนั้นก็คือ Bitcoin จำนวนหนึ่งที่ถูกผลิตขึ้นใหม่และค่าธรรมเนียมที่แต่ละคนจ่ายในการทำธุรกรรม ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่จะได้สิทธินี้ เพราะมีนักขุดมากมายที่อยากได้ Bitcoin จึงต้องมีการแข่งขันกันเพื่อหาผู้ชนะ
ทุกครั้งเมื่อเกิดการโอน Bitcoin ธุรกรรมจำนวนหนึ่งจะถูกเข้ารหัสกลายเป็นเหมือนกล่องที่ใส่กลอนกุญแจ และนักขุดก็จะมาไขกล่อง ๆ โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการสุ่มคำตอบของกล่องไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอ ทำให้มีนักขุดมากมายพยายามหาอุปกรณ์ที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ มาขุด Bitcoin เมื่อนักขุดคนไหนพบคำตอบก็จะมีสิทธิในการตรวจสอบธุรกรรมและสร้าง Block ที่มีรายการธุรกรรมใหม่ ๆ และกระจายบอกคนอื่น ๆ และได้รางวัล (Block reward)
ส่วนคนที่ขุดแพ้นั้นก็จะไม่ได้อะไรเลย ซึ่งการขุดนี้เป็นเหมือนระบบรักษาสมดุลและความปลอดภัยแก่ Bitcoin เพราะค่าไฟของการขุดที่ต้องจ่ายนั้นทำให้คนที่คิดจะควบคุมหรือโจมตีระบบด้วยวิธีการอย่าง DDoS attack ต้องจ่ายต้นทุนที่มหาศาล และเป็นเหตุผลว่าทำไมระบบของ Bitcoin นั้นจึงมีความปลอดภัยยิ่งกว่าระบบใดๆ
หมายเหตุ : ในปัจจุบันมีผู้ขุด Bitcoin จำนวนมากทำให้มันเป็นไปไม่ได้ที่นักขุดรายย่อยจะขุด Bitcoin ได้ ทำให้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเหมือนการเล่นกีฬาสีที่เรียกว่า Pool mining โดยถ้าใครในทีมเจอก็จะแบ่งรางวัลกันไปตามสัดส่วน
Bitcoin นั้นมีจำนวนจำกัดอยู่ที่ 21 ล้านโดยมันจะถูกผลิตขึ้นมาเรื่อย ๆ เหมือนการผลิตเงิน ทุก ๆ 10 นาทีหลังจากนักขุดสามารถหาคำตอบของ Block เจอโดยในช่วงแรก ๆ Bitcoin จะกำเนิดขึ้นถึง 50 BTC และมันจะลดลงครึ่งหนึ่ง (halving) ทุก ๆ 4 ปี เป็น 25 ,12.5, 6.25 ไปเรื่อย ๆ จนกว่า Bitcoin จะถูกขุดขึ้นมาทั้งหมดซึ่งคาดว่ามันจะถูกผลิตทั้งหมดในปี 2040 ซึ่งมันเป็นสิ่งที่จะทำให้ไม่เกิดเงินเฟ้อในระบบของ Bitcoin
หมายเหตุ1 : ไม่ว่านักขุดจะใช้อุปกรณ์ที่ดีแค่ไหนในการขุด Bitcoin ทุก Block ก็จะถูกแก้ไขในเวลาเฉลี่ย 10 นาที เพราะระบบจะปรับค่าความยากของโจทย์ (Difficulty) ตามกำลังของนักขุดเสมอ
หมายเหตุ2 : เมื่อ Bitcoin ทั้งหมดถูกขุดออกมา การขุดก็จะยังดำเนินต่อไปเพราะนักขุดยังได้ค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้งานจ่ายอยู่ส่วน Bitcoin ทั้ง 21 ล้านเหรียญก็จะเป็นเงินที่หมุนเวียนในระบบ
Bitcoin มีหน่วยทศนิยมย่อยได้ถึง 8 หลัก
1 หน่วยของ Bitcoin จะถูกเรียกว่า 1 BTC และมีค่าเท่ากับ 10 ล้านซาโตชิ ด้วยความที่ Bitcoin เป็นเงินดิจิทัลทำให้มันสะดวกในการใช้งานถ้าเทียบกับเงินจริง หากเราซื้อของราคา 0.5 BTC เราก็ไม่จำเป็นต้องรอเงินทอนเสมือนเงินจริง และการใช้งาน Bitcoin นั้นเราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ถึง 1 หน่วย Bitcoin เพราะมันสามารถแยกย่อยได้อีก 8 หลักนั้นเอง
มูลค่าของ Bitcoin มาจากไหน
จากข้อมูลด้านบนทุกคนคงเข้าใจคร่าว ๆ แล้วว่า Bitcoin มันเป็นระบบการเงินที่แทรกแซงไม่ได้ รวมถึงมีความน่าเชื่อถือสูงมากและแทบไม่มีความผิดพลาด โดยพื้นฐานและ Bitcoin ไม่มีลักษณะเหมือนหุ้นหากจะเปรียบเทียบให้ง่ายที่สุดคือมันมีลักษณะเหมือน Commodity เช่นทองคำ ที่ไม่ได้มีคุณค่าในตัวเอง แต่เกิดจากการให้มูลค่าของผู้ใช้งาน หรือก็คือ Demand และ Supply แต่คำถามที่น่าสนใจคือด้วยมูลค่าตอนนี้มันเหมาะสมหรือเปล่ากับแค่ระบบ ๆ หนึ่งมีอะไรบ้างที่ทำให้มันก่อเกิดมูลค่า
Bitcoin นั้นมักโดนโจมตีว่า “Bitcoin ไม่มีมูลค่าพื้นฐาน ไม่มีปัจจัยพื้นฐาน” ซึ่งที่จริงแล้ว Bitcoin มีพื้นฐานจากการเป็น Payment Channel ทุกวันนี้ถ้าเราจะโอนเงินก็ต้องมีต้นทุนทั้งนั้น ธนาคารใช้เงินเท่าไหร่ถึงจะสร้างระบบได้ Paypal ใช้เงินเท่าไหร่ถึงจะสร้างระบบการเงินที่ต้องป้องกัน Hacker ได้ซึ่งในส่วนนี้ Bitcoin ก็สามารถทำได้เช่นกัน
อีกสิ่งหนึ่งที่คนมักพูดถึง Bitcoin ก็คือ “Bitcoin ทำอะไรได้น้อย คนใช้ไม่เยอะ ไม่มีอนาคตเงินบาทสิดีกว่าเป็นไหนๆ” แนวคิดที่บอกว่าอะไรที่มีคนใช้เยอะจะมีมูลค่าเป็นแนวคิดที่ผิดมากๆ ทุกวันนี้เงินบาทเงินดอลอ่อนค่าวันละกี่% ถ้าของที่ใช้งานได้เยอะควรจะมีมูลค่ามีอนาคตทำไมราคาโทรศีพท์มือถือถึงตกทุกปี สุดท้ายทำไมทองคำที่โอนข้ามโลกไม่ได้โทรเข้าโทรออกไม่ได้ทำไมถึงราคาเพิ่มขึ้นตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา จริงๆแล้วโลกเรามีสิ่งเดียวที่สามารถรอดพ้นต่อการเสื่อมมูลค่าตลอดประวัติศาสตร์ได้และนั้นคือทองคำเพราะมันมีระบบต่อต้านเงินเฟ้อที่ผลิตได้ยาก การใช้งานเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้ทองคำมีมูลค่า แต่การที่มูลค่ามันไม่เสื่อมลงเพราะความหายากของมันและข้างล่างนี้คือการใช้งาน Bitcoin ในปัจจุบันที่ทำให้เกิดกระแสและความเชื่อใน Bitcoin
หา Bitcoin ได้ที่ไหน
ในต้นปี 2019 มีตลาดแลกเปลี่ยน Bitcoin และเงินดิจิตอลสกุลอื่นๆ กว่า 18,200 แห่งทั่วโลกและยังมีตู้ kiosks ในบางพื้นที่ ตลาดแลกเปลี่ยนที่มีชื่อเสียงในระดับโลกมีหลายแห่งเช่น Coinbase ใน USA ที่เป็น Wallet สำหรับ Bitcoin และมีกระดานเทรดเช่น Bittrex Bitstamp หรือ Binance ที่จะเป็นการแลกเปลี่ยนแบบการเปิดออเดอร์
สำหรับในไทยนั้นมีผู้ให้บริการในการซื้อขาย Bitcoin ดังนี้
ตลาดแลกเปลี่ยนในไทยหรือประเทศอื่น ๆที่ สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยสกุลเงินท้องถิ่นเช่น USD หรือ THB ได้นั้นจะต้องมีการเก็บข้อมูลผู้ซื้อที่เรียกว่า KYC เพื่อปฎิบัติตามหลักการต่อต้านการฟอกเงิน หรือ AML แต่สำหรับการแลกเปลี่ยนเงินดิจิตอลด้วยกันเองเช่น Bitcoin กับ Ethereum นั้นไม่จำเป็นต้องทำ KYC แต่มักจะมีข้อจำกัดในการใช้งานเช่นปริมาณ Bitcoin ที่สามารถโอนออกได้ต่อวัน
รีวิวเว็บซื้อขาย Bitcoin ในประเทศไทยที่ถูกกฎหมาย
กฎหมายที่ควรรู้
การซื้อขาย Bitcoin นั้นไม่ผิดกฎหมายมีการคุ้มครองจาก พรบ สินทรัพย์ดิจิทัล แต่การนำ Bitcoin ไปกระทำการอย่างอื่นเช่นหลอกลวงการลงทุนทำแชร์ลูกโซ่รวมถึงฟอกเงินนั้นเป็นเรื่องผิดกฎหมาย สำหรับภาษีนั้นจำเป็นจะต้องมีการเสียภาษี 15% จาก capital gain หรือกำไรที่ได้แต่ในปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดที่ได้รับมอบอำนาจในการหักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งให้สรรพากร แต่อย่างไรก็ตามเมื่อการซื้อขายนั้นมีกำไร กำไรที่ได้จะถูกคำนวนเป็นภาษีบุคคลธรรมดาในกรณีบุคคล และเป็นรายได้นิติบุคคลในกรณีบริษัท
ความเสี่ยงของ Bitcoin
หลังจากที่เราเล่าถึงเรื่องดีๆ ไปแล้ว เรามาดูความเสี่ยงของ Bitcoin กันบ้างดีกว่า ว่ามันมีอะไรบ้าง
หวังว่าผู้ที่อ่านบทความนี้จบจะเข้าใจมากขึ้นว่า Bitcoin คืออะไรทำงานยังไงทำไมถึงมีมูลค่า เทคโนโลยีอย่าง Blockchain นั้นได้สร้างความเป็นไปได้ที่มหาศาลแก่โลก และ Bitcoin เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ เท่านั้นจุดหนึ่งเท่านั้นในอนาคตเราอาจจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอีกมหาศาลด้วยเทคโนโลยีนี้