Bitcoin Addict เปลี่ยนเว็บไซต์ใหม่เป็น www.bitcoinaddict.com

January 2, 2025
บทความ
3
min read

NFT (Non- Fungible Token) คืออะไร และทำงานอย่างไร

Investopedia / Julie Bang

Non-Fungible Token (NFT) คือทรัพย์สินที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น งานศิลปะ และของสะสมดิจิทัลที่สามารถซื้อและขายได้บนบล็อคเชน  แต่แม้ว่า NFT จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเรียกกระแสฮือฮาได้จากยอดขายหลายล้านดอลลาร์ แต่ก็ยังมีคำถามเกี่ยวกับประโยชน์ที่จับต้องได้ของการเป็นเจ้าของมัน 

NFT ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่นับแต่ประมาณปี 2014 เป็นต้นมา โดยถือเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่เหมือนใครและใช้เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นเจ้าของโดยเฉพาะ (ซึ่งมักจะเป็นงานศิลปะดิจิทัล) เชื่อกันว่า NFT จะสามารถ disrupt ตลาดทั่วโลกได้ตั้งแต่งานศิลปะ , เกม ไปจนถึงการประกันภัย

แต่จริง ๆ แล้ว NFT คืออะไรและมันทำงานอย่างไร ในบทความนี้ เราจะมาสำรวจแนวคิดของ NFT และให้ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับการทำงานของมันกัน

Non-Fungible Token (NFT) คืออะไร 

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชน Non-Fungible Tokens (NFT) ได้รับความสนใจเนื่องด้วยคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์และมีศักยภาพในการปฏิวัติอุตสาหกรรมต่าง ๆ  ซึ่งหากให้พูดง่าย ๆ NFT นั้นก็จัดเป็นสินทรัพย์คริปโตที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนชนิดหนึ่งแต่ไม่สามารถทำซ้ำได้   และมีความแตกต่างจากคริปโตทั่วไปที่เป็น Fungible Token ที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ 

“Fungible” เป็นคำศัพท์ที่หมายถึงสินค้าหรือสินทรัพย์ที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าอื่นหรือสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเท่ากัน ตัวอย่างเช่น ธนบัตรดอลลาร์  เนื่องจากสามารถแลกเปลี่ยนกับธนบัตรดอลลาร์อื่นที่มีมูลค่าเท่ากันได้อย่างง่ายดาย

ส่วน “Non-Fungible” หมายความว่ามันไม่สามารถแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่มีมูลค่าเท่ากันได้โดยสิ้นเชิงได้ เช่น งานศิลปะ , ดนตรี , ไฟล์ภาพ ที่ถือเป็นสินทรัพย์ที่ไม่สามารถทดแทนกันได้  และนี่คือที่มาของ NFT 

NFT หรือ Non-Fungible Token เริ่มต้นในปี 2014 โดยเป็นไอเท็มดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่ผู้คนสามารถเป็นเจ้าของและแลกเปลี่ยนได้ แต่มาโด่งดังเป็นพลุแตกในปี 2021 ที่ใคร ๆ ก็ต่างพูดถึงมัน และทำให้มูลค่ารวมของ NFT ทั้งหมดสูงถึง 41 พันล้านดอลลาร์ในปี 2021 สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า NFT มีความสำคัญต่ออนาคตของความเป็นเจ้าของสินทรัพย์อย่างไร

Mike Winklemann ศิลปินดิจิทัลชื่อดัง หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "Beeple" ก็ได้มีการสร้างสรรค์ผลงานภาพวาดกว่า 5,000 ภาพเพื่อสร้าง NFT ที่โด่งดังที่สุดในปี 2021

แต่บางคนก็อาจสงสัยว่า ในเมื่อใครๆ ก็สามารถดูภาพทางออนไลน์ได้ฟรี เหตุใดจึงมีผู้คนที่ยินดีจ่ายเงินหลายล้านเพื่อซื้อสิ่งที่พวกเขาสามารถ Save ภาพหน้าจอหรือดาวน์โหลดได้อย่างง่ายดาย 

สิ่งที่ทำให้ NFT พิเศษยิ่งขึ้นก็คือส่วนของโค้ดภายในบล็อกเชนที่ช่วยทำให้เกิดความเป็นเจ้าของให้กับผู้ซื้อเพียงคนเดียวเท่านั้น เหมือนกับเป็นใบรับรองความถูกต้อง ดังนั้น ผู้ซื้อ NFT จึงเหมือนกับมีต้นฉบับในโลกเสมือนจริง และสามารถตั้งโปรแกรมค่าลิขสิทธิ์ลงในโทเค็นได้ด้วย  

NFT ทำงานอย่างไร?

NFT ทำงานบนพื้นฐานของเทคโนโลยีบล็อกเชนที่มีความปลอดภัยสูง โดยในช่วงแรกนั้นส่วนใหญ่จะถูกสร้างบนบล็อกเชนของ Ethereum แต่ปัจจุบันก็มีบล็อกเชนอื่น ๆ มากมายที่รองรับการสร้าง NFT 

สิ่งที่ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการทำงานของ NFT ก็คือ Smart contracts ที่ช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นแบบอัตโนมัติ และสามารถกำหนดกฎและเงื่อนไขสำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ได้  นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้สร้างได้รับค่าลิขสิทธิ์โดยอัตโนมัติทุกครั้งที่ NFT ถูกขายต่อในตลาดรอง และยังรับประกันความโปร่งใสและขจัดความจำเป็นในการมีคนกลางในกระบวนการซื้อและขาย ช่วยให้ศิลปินไม่จำเป็นต้องพึ่งพาแกลเลอรีหรือร้านประมูลเพื่อขายงานศิลปะอีกต่อไป

ศิลปินหรือใครก็ตาม สามารถขายงานของให้กับผู้ที่สนใจได้โดยตรงในรูปแบบ NFT ซึ่งช่วยให้พวกเขาเก็บผลกำไรได้มากขึ้น

และด้วยลักษณะการกระจายอำนาจของเทคโนโลยีบล็อกเชน ทำให้มั่นใจได้ว่าธุรกรรม NFT จะมีความโปร่งใสและทนทานต่อการเซ็นเซอร์หรือการปลอมแปลง โดยเมื่อเราสร้าง NFT ข้อมูลการเป็นเจ้าของ , และประวัติการทำธุรกรรมก็จะถูกบันทึกไว้ในบล็อกเชน ซึ่งจะเป็นการบันทึกการเป็นเจ้าของอย่างถาวรและตรวจสอบย้อนหลังได้

โดยตัวอย่างสำหรับแพลตฟอร์มบล็อกเชนยอดนิยมที่เหมาะสำหรับ NFT ได้แก่

  1. Ethereum : Ethereum เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มบล็อกเชนชั้นนำสำหรับ NFT ด้วยฟังก์ชันการทำงานของ Smart contracts ที่แข็งแกร่ง โดย Ethereum blockchain ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในการสร้างและซื้อขาย NFT เนื่องจากความยืดหยุ่น , ความสามารถในการทำงานร่วมกันกับเครือข่าย blockchain อื่น ๆ
  2. Binance Smart Chain (BSC): Binance Smart Chain เป็นแพลตฟอร์มบล็อกเชนที่พัฒนาโดย Binance หนึ่งในเว็บเทรดสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดย BSC  มีจุดเด่นที่ธุรกรรมที่รวดเร็วและต้นทุนต่ำ ทำให้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้สร้าง NFT และเทรดเดอร์ที่ต้องการลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม 
  3. Flow : Flow เป็นแพลตฟอร์มบล็อกเชนที่ออกแบบมาเพื่อการสร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจและสินทรัพย์ดิจิทัล สร้างขึ้นโดย Dapper Labs ซึ่งเป็นทีมที่อยู่เบื้องหลังโครงการ NFT ยอดนิยม เช่น CryptoKitties และ NBA Top Shot Flow ด้วยความสามารถในการปรับขนาดและประสิทธิภาพ ทำให้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคอลเลกชัน NFT ขนาดใหญ่และธุรกรรมที่มีปริมาณสูง

ทำไม NFT ถึงได้รับความนิยม

https://simon.rochester.edu/blog/deans-corner/nonfungible-tokens

ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ NFT กลายเป็นกระแสที่มาแรงในโลกดิจิทัลมีดังนี้

  1. การปฏิวัติแนวคิดเรื่องความเป็นเจ้าของในโลกดิจิทัล

หนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้ NFT ได้รับความนิยมคือการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของในโลกดิจิทัล เนื่องจากก่อนหน้านี้ การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเรื่องยาก เนื่องจากไฟล์ดิจิทัลสามารถคัดลอกได้ง่าย แต่ NFT ได้แก้ปัญหานี้ด้วยการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์และความหายากให้กับสินทรัพย์ดิจิทัล

1.1 ความเป็นเอกลักษณ์และความหายาก : NFT ทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเป็นเอกลักษณ์และหายาก ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลกดิจิทัล โดยสิ่งนี้ทำให้ผู้คนสามารถเป็นเจ้าของสิ่งที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก 

1.2 การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ : เทคโนโลยีบล็อกเชนที่อยู่เบื้องหลัง NFT ทำให้สามารถพิสูจน์ความเป็นเจ้าของได้อย่างชัดเจนและโปร่งใส ซึ่งในอดีตเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก

  1. การเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับศิลปินและนักสร้างสรรค์

NFT ได้เปิดโลกใหม่ให้กับศิลปินและนักสร้างสรรค์ในการนำเสนอและสร้างรายได้จากผลงานของพวกเขา

2.1 การขายผลงานโดยตรง :  ศิลปินสามารถขายผลงานของตนเองโดยตรงให้กับผู้ซื้อ โดยไม่ต้องผ่านคนกลางหรือแกลเลอรี่ ทำให้พวกเขามีอิสระมากขึ้นในการกำหนดราคาและเงื่อนไขการขาย

2.2 รายได้ต่อเนื่อง : Smart contracts ที่ใช้ในการสร้าง NFT สามารถกำหนดให้ศิลปินได้รับส่วนแบ่งจากการขายต่อในอนาคต ทำให้พวกเขามีโอกาสได้รับรายได้ต่อเนื่องจากผลงานของตนเอง

2.3 การเข้าถึงตลาดทั่วโลก : NFT ทำให้ศิลปินสามารถเข้าถึงตลาดทั่วโลกได้อย่างง่ายขึ้น โดยไม่มีข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์

  1. การผสมผสานกับวัฒนธรรมป๊อป และกระแสสังคม

NFT ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมป๊อปและกระแสสังคม ทำให้ได้รับความสนใจจากคนหลากหลายกลุ่ม

3.1 การมีส่วนร่วมของคนดัง : ศิลปินที่มีชื่อเสียง นักกีฬา และบุคคลสาธารณะหลายคนได้เข้าสู่วงการ NFT ทำให้เกิดความสนใจจากแฟน ๆ และสื่อมวลชน

3.2 การสร้างชุมชน : NFT ได้สร้างชุมชนออนไลน์ที่มีความกระตือรือร้น ซึ่งมีการแบ่งปันความสนใจ , แลกเปลี่ยนความคิดเห็น , และสนับสนุนซึ่งกันและกัน

  1. โอกาสในการลงทุนและเก็งกำไร

NFT ได้กลายเป็นช่องทางใหม่สำหรับการลงทุนและเก็งกำไร ซึ่งดึงดูดนักลงทุนและนักเก็งกำไรจำนวนมาก

4.1 การเติบโตของมูลค่า : NFT บางชิ้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในเวลาอันสั้น ทำให้เกิดความตื่นเต้นและความหวังในการทำกำไร

4.2 ความหลากหลายของการลงทุน : NFT มีความหลากหลาย ตั้งแต่งานศิลปะไปจนถึงไอเทมในเกม ทำให้นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในสิ่งที่ตนเองสนใจและเข้าใจได้

4.3 ตลาดที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง : ตลาด NFT เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ทำให้นักลงทุนสามารถซื้อขายได้ตลอดเวลา

  1. การบูรณาการกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ

NFT ได้รับประโยชน์จากการบูรณาการกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้มีการใช้งานที่หลากหลายและน่าสนใจมากขึ้น

5.1 การผสมผสานกับ AR และ VR : การใช้ NFT ร่วมกับเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) ทำให้เกิดประสบการณ์ใหม่ๆ ในการใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัล

5.2 การใช้งานในเกมและโลกเสมือนจริง : NFT ได้ถูกนำมาใช้ในเกมและโลกเสมือนจริง (Metaverse) ทำให้ผู้เล่นสามารถเป็นเจ้าของไอเทมและทรัพย์สินเสมือนที่มีมูลค่าจริง

5.3 การพัฒนาของ DeFi : การผสมผสานระหว่าง NFT และ Decentralized Finance (DeFi) ทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างมูลค่าและการใช้งานทางการเงิน

  1. ความสนใจจากองค์กรขนาดใหญ่และแบรนด์ดัง

การเข้ามาของบริษัทขนาดใหญ่และแบรนด์ที่มีชื่อเสียงในวงการ NFT ได้ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและดึงดูดความสนใจจากสาธารณชน

6.1 การเปิดตัว NFT ของแบรนด์หรูต่าง ๆ : แบรนด์หรูหลายแบรนด์ได้เปิดตัว NFT ของตนเอง ทำให้เกิดความสนใจจากทั้งแฟนของแบรนด์และนักสะสม

6.2 การใช้ NFT ในการตลาด : บริษัทต่าง ๆ เริ่มใช้ NFT เป็นเครื่องมือในการทำการตลาดและสร้างความผูกพันกับลูกค้า

6.3 การลงทุนจากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ : บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำหลายแห่งได้เริ่มลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ NFT ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในอนาคตของเทคโนโลยีนี้

ตลาด NFT ยอดนิยม

เมื่อกระเป๋าเงินของคุณพร้อมแล้ว ก็สามารถเข้าไปยังเว็บไซต์ NFT ชื่อดังต่าง ๆ ที่มีให้เลือกช้อปกันมากมาย โดยรายชื่อด้านล่างถือเป็นหนึ่งในตลาด NFT ที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่:

OpenSea.io : OpenSea เป็นหนึ่งในตลาดซื้อขายเก่าแก่  เปิดตัวในปี 2017 และเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ข้อดีที่สุดของ OpenSea คือมี NFT ยอดนิยมให้เลือกมากมาย ซึ่งรวมถึงภาพถ่าย , เพลง , การ์ดสะสม , งานศิลปะ และอื่นๆ โดย OpenSea คิดค่าธรรมเนียม 2.5% สำหรับทุกธุรกรรมที่ทำผ่านแพลตฟอร์ม 

Rarible: Rarible เป็นที่ ๆ ทุกคนสามารถซื้อหรือขาย NFT คล้ายกับ OpenSea โดยจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 2.5% สำหรับแต่ละธุรกรรม แต่สิ่งที่ทำให้ Rarible มีข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งก็คือ Rarible อนุญาตให้สามารถทำธุรกรรมโดยใช้บัตรเครดิตและสกุลเงิน fiat ควบคู่ไปกับสกุลเงินดิจิทัลได้ 

นอกจากนี้ Rarible ยังมีโทเค็นของตัวเองที่ชื่อว่า RARI โดยผู้ถือ RARI จะมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในการตัดสินใจของบริษัท เช่น การเปลี่ยนแปลงนโยบาย

Binance NFT : Binance NFT เป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มตลาด NFT ทั้งหมด โดยเป็นตลาดที่จำหน่ายงานศิลปะ , ของที่ระลึก , และผลิตภัณฑ์ดิจิทัลอื่นๆ มากมาย ด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย และมีค่าธรรมเนียมที่ราคาไม่แพงเพียง 1% สำหรับการซื้อขาย  

อนาคตของ NFT

NFT เป็นเทคโนโลยีที่สร้างความตื่นเต้นในโลกดิจิทัล แต่แม้จะมีทั้งกระแสความนิยมและการถูกวิพากษ์วิจารณ์ แต่ NFT ก็มีศักยภาพที่จะพัฒนาและส่งผลกระทบต่อหลายอุตสาหกรรมในอนาคต

โดยในระยะสั้น เราอาจเห็นการปรับตัวและการพัฒนาของตลาด NFT ดังนี้ :

  1. การใช้งานที่หลากหลายขึ้น: NFT จะไม่จำกัดอยู่แค่งานศิลปะดิจิทัล แต่จะขยายไปสู่การใช้งานในด้านอื่น ๆ เช่น การรับรองความเป็นเจ้าของทรัพย์สินจริง , ตั๋วงานอีเวนต์ ,หรือการพิสูจน์ตัวตนในโลกเสมือน
  2. เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น : การพัฒนาบล็อกเชนที่ใช้พลังงานน้อยลงและมีค่าธรรมเนียมต่ำลงจะช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับ NFT
  3. การบูรณาการกับ Web3 : NFT จะเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศ Web3 ที่กำลังเติบโต โดยเฉพาะในแง่ของการสร้างตัวตนดิจิทัลและการมีส่วนร่วมในชุมชนออนไลน์

ส่วนในระยะยาว NFT อาจมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงหลายอุตสาหกรรม ดังนี้ :

  1. อุตสาหกรรมบันเทิง : NFT อาจเปลี่ยนวิธีที่ศิลปินและนักสร้างสรรค์สร้างรายได้และมีปฏิสัมพันธ์กับแฟนๆ โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง
  2. อสังหาริมทรัพย์ : การใช้ NFT ในการซื้อขายและจัดการทรัพย์สินดิจิทัลในโลกเสมือนอาจกลายเป็นตลาดขนาดใหญ่
  3. การเงินและการลงทุน : NFT อาจกลายเป็นสินทรัพย์การลงทุนประเภทใหม่ที่มีสภาพคล่องสูงและสามารถแบ่งย่อยได้
  4. การศึกษา : ใบรับรองและวุฒิการศึกษาในรูปแบบ NFT อาจช่วยให้การตรวจสอบและยืนยันคุณสมบัติทำได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม การเติบโตของ NFT ยังต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น :

  1. กฎระเบียบ : ภาครัฐอาจเข้ามากำกับดูแลตลาด NFT มากขึ้นเพื่อป้องกันการฉ้อโกงและการฟอกเงิน
  2. การยอมรับของผู้ใช้ : NFT ยังต้องพิสูจน์คุณค่าและประโยชน์ในระยะยาวเพื่อให้ได้รับการยอมรับในวงกว้าง
  3. ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว : การพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเติบโตของ NFT
  4. ความยั่งยืน : การแก้ไขปัญหาด้านการใช้พลังงานและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในระยะยาวของ NFT

บทสรุป

NFT สามารถเข้ามากำหนดนิยามใหม่ของการเป็นเจ้าของและความถูกต้องทางดิจิทัล และเมื่อตลาด NFT เติบโตขึ้น คงจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะได้เห็นว่า NFT จะพัฒนาและบูรณาการเข้ากับชีวิตดิจิทัลในด้านต่างๆ ของเราอย่างไร 

อย่างไรก็ตาม มูลค่าของโทเค็น NFT ยังมีความผันผวนมาก ดังนั้นการลงทุนใน NFT โดยที่ไม่มีความรู้มาก่อนจึงมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการลงทุนในสินทรัพย์คริปโต

บทความที่คุณอาจสนใจ