Bitcoin Addict เปลี่ยนเว็บไซต์ใหม่เป็น www.bitcoinaddict.com
นักเทรดคริปโตที่มีประสบการณ์ในตลาดมาระยะหนึ่งแล้ว น่าจะต้องเคยได้ยินคำว่า Stop Loss หรือการตัดขาดทุนมาแล้วอย่างแน่นอน บางคนอาจจะยังมีคำถามว่า Stop Loss คืออะไร จำเป็นต้องใช้หรือไม่ บทความนี้จะมาสรุปทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ Stop Loss ให้เอง
Stop Loss หรือการตัดขาดทุน เป็นวิธีการป้องกันความเสี่ยงรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการลงทุนทุกรูปแบบ โดยเป็นการขายสินทรัพย์ที่ระดับราคาที่กำหนดเพื่อป้องกันการขาดทุนหนัก เนื่องจากมูลค่าของสินทรัพย์ดังกล่าวมีแนวโน้มจะลดลงหรือกำลังลดลงอย่างหนัก
การตั้ง Stop Loss สามารถป้องกันความเสียหายหนักให้กับพอร์ตการลงทุนได้ โดยเฉพาะการลงทุนในคริปโตที่มีความผันผวนสูง ยกตัวอย่าง การตั้ง Stop Loss เมื่อราคาสินทรัพย์ลดลงมาต่ำกว่า -10% ของราคาที่เข้าซื้อ อย่างน้อย ๆ ก็จะสามารถช่วยป้องกันให้พอร์ตเสียหายแค่ -10% แต่ถ้าไม่ตั้ง Stop Loss และปล่อยให้ราคาสินทรัพย์ลดลงโดยไม่ทำอะไรเลย ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจกลายเป็น -30% หรือมากกว่านั้น ซึ่งเป็นระดับความเสียหายที่เรียกว่าสาหัสเลยทีเดียว
การตั้ง Stop Loss ไม่ใช่แค่เพื่อป้องกันการขาดทุนหนัก แต่ยังช่วยให้นักลงทุนสามารถฝึกฝนวินัยในการลงทุนและสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้การลงทุนในคริปโตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หลักของการตั้ง Stop Loss มีอยู่ด้วยกัน 5 หลักดังต่อไปนี้
การตั้ง Stop Loss ตาม % ความเสียหายที่ยอมรับได้ถือวิธีที่ง่ายที่สุดในการตั้ง Stop Loss ยกตัวอย่าง หากเข้าซื้อเหรียญคริปโตที่ราคา 100 บาท ให้พิจารณาว่าตัวเราสามารถยอมรับ % การขาดทุนได้มากเท่าไหร่ หากยอมรับได้ที่ -10% ก็ให้ตั้ง Stop Loss หรือตั้งคำสั่งขายไว้ที่ 90 บาท
นอกจากนี้ หากนักลงทุนต้องการความยืดหยุ่น นักลงทุนก็สามารถแบ่งจุด Stop Loss เป็นลำดับขั้นได้เช่นกัน ยกตัวอย่าง กำหนดระดับขาดทุนที่สามารถยอมรับได้ไว้ที่ -5%, -10% และ -20% ก็ให้ตั้งคำสั่งขายไว้ที่ 95 บาท 90 บาท และ 80 บาท ตามลำดับ
นักลงทุนสามารถใช้ระดับแนวรับสำคัญหรือแนวรับทางจิตวิทยามาใช้ในการตั้ง Stop Loss ได้เช่นกัน โดยแนวรับสำคัญที่นิยมนำมาใช้คือระดับต่ำสุดเดิมของเหรียญ เช่น ราคา Bitcoin เคยทำระดับต่ำสุดเมื่อสัปดาห์ก่อนที่ 2,100,000 บาท นักลงทุนก็สามารถใช้ระดับดังกล่าวสำหรับการกำหนดจุดตัดขาดทุน หรืออีกแบบหนึ่งคือการใช้แนวรับทางจิตวิทยา สังเกตได้จากตัวเลขที่กลม ๆ เช่น 2,000,000 บาท หรือ 1,000,000 บาท ก็สามารถใช้เป็นจุด Stop Loss ได้
นักลงทุนสายเทคนิคที่ถนัดการดูทิศทางราคาก็สามารถใช้จุดที่คาดว่าหากราคาหลุดลงต่ำกว่าก็จะทำให้ราคาลดลงต่อเป็นระดับในการตั้ง Stop Loss ได้เช่นกัน ยกตัวอย่าง นักลงทุนลองตีเส้นเทรนด์ให้กับราคาเหรียญแล้วใช้เส้นเทรนด์ด้านล่างเป็นจุด Stop Loss ตามภาพตัวอย่างด้านล่าง
การใช้เครื่องมือชี้วัด (Indicators) เพื่อกำหนดจุด Stop Loss เป็นอีกวิธีที่สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน ซึ่งก็มีเครื่องมือมากมายที่สามารถช่วยหาจุด Stop Loss ได้ โดยในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างเครื่องมือ Relative Strength Index (RSI) เพื่อหาภาวะแรงขายมากเกินไป (Oversold) หรือเมื่อ RSI ลงต่ำว่า 30 ก็ให้ทำการตัดขาดทุน เป็นต้น
อีกหนึ่งเครื่องมือชี้วัดที่สามารถนำมาใช้กับการตั้ง Stop Loss ได้ก็คือ Bollinger Band เครื่องมือชี้วัดที่สามารถบอกได้ว่าราคาผันผวนจากค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมากเท่าไหร่ ซึ่งจะประกอบด้วย 3 เส้น โดยมีวิธีดูง่าย ๆ คือหากราคาลงมาแตะเส้นด้านล่าง ซึ่งหมายความว่าราคาลดลงจากค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอย่างมาก จึงเป็นระดับที่สามารถตั้ง Stop Loss เพื่อป้องกันความเสียหายหนักได้
หลักการในข้อนี้อาจไม่ได้มีเรื่องของราคาเข้ามาเกี่ยวข้องมากนัก เพราะเป็นการตัดขาดทุนตามระยะเวลาที่นักลงทุนกำหนด เช่น หากราคาเหรียญหนึ่งไม่มีการขยับมาเป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ ก็จะทำการตัดขาดทุน เพื่อนำเงินไปลงทุนกับเหรียญอื่นแทน หรือสามารถใช้กับช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์สำคัญได้ เช่น กำหนดว่าจะทำการขาย Bitcoin เมื่อเหตุการณ์ Bitcoin Halving ผ่านพ้นไป เป็นต้น
การตั้ง Stop Loss แบบ Trailing Stop เป็นเทคนิคในการกำหนดจุดตัดขาดทุนไปพร้อม ๆ กับการปล่อยให้กำไรเติบโตขึ้น ทำได้โดยการกำหนด % ของจุดตัดขาดทุนที่สามารถยอมรับได้ เช่น -5% คล้ายกับการตั้ง Stop Loss ตามปกติ แต่การตั้งแบบ Trailing Stop จะทำให้จุด Stop Loss ขยับตามราคาที่สูงขึ้น
ยกตัวอย่าง ซื้อเหรียญที่ 100 บาท และตั้งจุด Stop Loss ไว้ที่ -5% หรือ 95 บาท ต่อมาราคาเหรียญขยับขึ้นไปเป็น 120 บาท จุด Stop Loss ที่ตั้งไว้ก็จะถูกขยับขึ้นมาเป็น 114 บาท หรือถ้าราคาขึ้นเป็น 200 บาท จุด Stop Loss ก็จะขยับขึ้นมาเป็น 190 บาท เป็นต้น
ขั้วตรงข้ามของ Stop Loss ก็คือการ Take Profit หรือการตัดทำกำไรเมื่อราคาขึ้นไปถึงระดับที่กำหนด การตั้ง Stop Loss ควบคู่ไปกับการตั้ง Take Profit เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่ค่อยมีเวลาเฝ้าหน้าจอ เพราะจะทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร นักลงทุนก็จะสามารถควบคุมความเสียหายจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หรือถ้าเหตุการณ์เป็นไปตามที่คาดหวังก็จะสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างแน่นอน
แนวรับในที่นี้หมายถึงแนวรับสำคัญหรือแนวรับทางจิตวิทยาที่นักลงทุนวิเคราะห์เอาไว้ เนื่องจากบางครั้งราคาเหรียญอาจลงมาชนแนวรับแล้วเด้งกลับขึ้นไปทันที หากตั้ง Stop Loss ไว้ตรงกับแนวรับแบบเป๊ะ ๆ ก็อาจทำให้เหรียญถูกขายออกทันที นักลงทุนจึงอาจพลาดโอกาสในการทำกำไรจากราคาที่เด้งกลับขึ้นมา
สัญญาณในที่นี้หมายถึงสัญญาณที่ได้จากเครื่องมือชี้วัด Indicators คล้าย ๆ กับการตั้ง Stop Loss ให้ต่ำกว่าแนวรับเล็กน้อยที่อธิบายไว้ในข้อก่อนหน้า ยกตัวอย่าง หากเครื่องมือ RSI ลงมาต่ำกว่าระดับ 30 จุดก็จะเป็นโซนแรงขายมากเกินไป (Oversold) แต่บางครั้งก็อาจเป็นสัญญาณหลอกได้ นักลงทุนจึงอาจใช้ระดับ 28 จุด เป็นระดับที่จะทำการ Stop Loss จริงแทน เป็นต้น
Stop Loss คือการขายเหรียญตามระดับราคาที่กำหนดเพื่อป้องกันการขาดทุนหนัก เป็นวิธีป้องกันความเสี่ยงรูปแบบหนึ่งที่ได้รับการยอมรับ โดยทั่วไปแล้วการตั้ง Stop Loss มักจะเกิดจากการกำหนด % การขาดทุนที่สามารถยอมรับได้ แต่ก็มีการตั้ง Stop Loss รูปแบบอื่น ๆ เช่น การตั้งตามแนวรับ การตั้งตามเทรนด์ราคา การตั้งตามสัญญาณจากเครื่องมือชี้วัด และการตั้งตามระยะเวลา