Bitcoin Addict เปลี่ยนเว็บไซต์ใหม่เป็น www.bitcoinaddict.com
Zero Knowledge Proof เป็นวิธีการพิสูจน์เกี่ยวกับข้อมูลชิ้นหนึ่ง โดยที่ไม่ต้องเปิดเผยตัวข้อมูลเอง ซึ่งในบทความนี้จะพูดถึงว่า Zero knowledge proof คืออะไร ทำงานอย่างไร และเหตุใดเราจึงต้องการสิ่งเหล่านี้ใน Web3
ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสินทรัพย์ที่มีค่า การรักษาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง แม้ว่าเราจะต้องการแบ่งปัน , พิสูจน์ , หรือยืนยันข้อมูลบางอย่างกับบุคคลอื่น แต่เราอาจไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลนั้นทั้งหมด นี่คือสถานการณ์ที่ทำให้แนวคิด Zero-knowledge Proof ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญ
นักวิจัย Shafi Goldwasser, Silvio Micali และ Charles Rackoff เป็นผู้นำเสนอแนวคิดนี้เป็นครั้งแรกในช่วงต้นทศวรรษ 1980 โดยแนวคิดนี้เริ่มต้นมาจากคำถามง่ายๆ ว่า "เราจะทำอย่างไรให้คนอื่นเชื่อว่าเรารู้บางสิ่งบางอย่างโดยไม่ต้องบอกสิ่งนั้นด้วย?
สิ่งนี้ทำให้เป้าหมายหลักของ Zero Knowledge Proofs ก็คือการโน้มน้าวผู้ตรวจสอบว่าการยืนยันข้อมูลบางอย่างนั้นเป็นความจริง โดยไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลใดๆ นอกเหนือจากความจริงของข้อมูล
สิ่งที่ทำให้ Zero knowledge Proofs แตกต่างจากการพิสูจน์ทั่วไปคือ มันไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับให้กับผู้ตรวจสอบ (Verifier) โดยผู้พิสูจน์ (Prover )จะทำการแสดงหลักฐานโดยใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน แทนการเปิดเผยข้อมูลลับนั้นโดยตรง และหากผู้ตรวจสอบยอมรับหลักฐานที่นำเสนอ ก็จะเชื่อว่าผู้พิสูจน์รู้ข้อมูลลับนั้นจริงโดยไม่รู้ข้อมูลลับนั้น นี่คือสาระสำคัญของ Zero-knowledge
Zero Knowledge Proofs ที่ดีควรเป็นไปตามเกณฑ์ 3 ประการต่อไปนี้:
Zero Knowledge Proofs ใช้อัลกอริธึมเพื่อประมวลผลข้อมูลที่ป้อนเข้าและยืนยันความจริง โดยปัจจุบันมีโปรเจ็กต์อย่าง StarkNet บน Ethereum, Polygon Zero, ZkSync และอีกมากมายที่กำลังใช้โปรโตคอลนี้ในฟังก์ชันการทำงานของพวกเขา เพื่อรับประกันความปลอดภัยว่าข้อมูลจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง และให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่ไว้ใจได้จากเครือข่ายที่น่าเชื่อถือ
Zero Knowledge Proofs ทำงานโดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์และทฤษฎีความน่าจะเป็น โดยมีขั้นตอนการทำงานหลัก ๆ ดังนี้
จากหลักทำงานที่กล่าวไว้ข้างต้น ทำให้ Zero Knowledge Proofs เป็นอีกวิธีการที่ปลอดภัยสำหรับการพิสูจน์ข้อมูลโดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลลับ และผู้ตรวจสอบก็สามารถเชื่อได้ว่าผู้พิสูจน์รู้ข้อมูลลับนั้นจริงโดยไม่รู้ข้อมูลลับนั้น
Zero Knowledge Proofs มีความสำคัญอย่างยิ่งด้วยเหตุผลหลัก ๆ ดังนี้
Zero Knowledge Proofs มี 2 ประเภท คือ : interactive และ non-interactive
ถึงแม้ Zero Knowledge Proofs จะเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์มากในการรักษาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย แต่ก็มีความเสี่ยงและข้อจำกัดบางประการที่ควรพิจารณา ดังนี้
มีการใช้งาน Zero Knowledge Proofs มากมาย รวมถึง layer-2 rollups ที่ช่วยทั้งในการปรับขนาดได้และปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น
Starknet
โซลูชัน ZK-Rollup แบบกระจายอำนาจที่สร้างขึ้นบนเครือข่าย L2 ของ Ethereum โดยช่วยทำให้ปริมาณงานสูงขึ้นและลดต้นทุนการทำธุรกรรม
zkSync
โปรโตคอล Layer-2 ที่ใช้ SNARK ซึ่งใช้เทคโนโลยี zero knowledge เพื่อช่วยปรับขนาด Ethereum โดย zkSync ใช้ ZK-Rollups และใช้ SNARK เพื่อรับรองความถูกต้องของธุรกรรม ซึ่งเทคโนโลยีนี้ช่วยให้สามารถตรวจสอบธุรกรรมนอกเครือข่ายเป็นชุด ๆ บน Ethereum ได้เพื่อให้มั่นใจถึงการพิสูจน์ความถูกต้อง
ด้วยการใช้ zkEVM ทำให้ zkSync ยังคงเข้ากันได้กับ Ethereum พร้อมกับเสนอการตรวจสอบธุรกรรมจากภายนอก ซึ่งช่วยลดความจำเป็นในการตรวจสอบโหนดแต่ละโหนด นอกจากนี้ zkSync ยังช่วยให้สามารถสร้างเครือข่าย Rollup ที่เรียกว่า Hyperchain ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับขนาดและการทำงานร่วมกันได้
Zcash
Zcash เป็นแนวหน้าของคริปโตที่เน้นในเรื่องความเป็นส่วนตัว ได้มีการนำ zk-SNARK มาใช้เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการตรวจสอบ โดยมีการเปลี่ยนมาใช้ระบบ Halo 2 zero-knowledge proofs ในระหว่างการอัพเกรดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2022
Loopring
Loopring เป็นโปรโตคอล rollup ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี SNARK บน Ethereum โดยได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับขนาดและความปลอดภัย โดยสามารถประมวลผลการซื้อขายได้มากกว่า 2,000 รายการต่อวินาที
Polygon zkEVM
Polygon เป็นหนึ่งในบล็อกเชน Ethereum เลเยอร์ 2 ที่โดดเด่นที่สุดโดยใช้ zero-knowledge SNARK ในสถาปัตยกรรม และเป็น zero-knowledge rollup ที่ช่วยปรับขนาด Ethereum เพื่อให้ธุรกรรมเร็วขึ้นและถูกลง
Polygon zkEVM มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพ TPS และลดต้นทุน โดยตัวชี้วัดหลัก ได้แก่ ค่าธรรมเนียม gas เฉลี่ยต่อธุรกรรมที่ 0.000778 ETH
Scroll
Scroll คือ Rollup L2 ที่ใช้ SNARK พร้อมด้วยโครงสร้างพื้นฐาน zkEVM แบบเนทีฟ โดยมีเวลาบล็อกโดยเฉลี่ยคือ 75 วินาที และมีธุรกรรมกว่า 38.65 ล้านรายการได้รับการประมวลผลที่ 1.18 TPS และมีราคา gas เฉลี่ย L2 อยู่ที่ 0.000001 ดอลลาร์
Scroll ผ่านการ audits หลายครั้งโดย Trail of Bits, OpenZeppelin, Zellic และ KALOS ซึ่งการตรวจสอบเหล่านี้ครอบคลุมในแง่มุมต่าง ๆ ของโครงการ รวมถึง zkEVM , การใช้งานโหนด , และสัญญาบริดจ์และการยกเลิก โดยกระบวนการตรวจสอบที่เข้มงวดนี้ทำให้มั่นใจในความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของโปรโตคอล Scroll
นอกจากนี้ Zero Knowledge Proofs ยังมีการประยุกต์ใช้งานในด้านอื่น ๆ ตั้งแต่ด้านการเงิน ,ความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต , รวมถึงการรักษาความปลอดภัยของระบบคลาวด์ ซึ่งพูดได้ว่า Zero-Knowledge Proofs มีการนำไปประยุกต์ใช้งานที่หลากหลายในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการรักษาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากขึ้นในโลกดิจิทัลปัจจุบัน
สรุปได้ว่า Zero Knowledge Proofs เป็นแนวคิดทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีที่น่าทึ่งซึ่งช่วยรักษาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในการสื่อสารและทำธุรกรรมบนโลกดิจิทัล โดยมีประโยชน์หลักก็คือการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลในการทำธุรกรรมต่างๆ
อย่างไรก็ตาม Zero Knowledge Proofs ก็มีความเสี่ยงและข้อจำกัดบางประการตามที่ได้ไปในบทความ แต่โดยรวมแล้ว Zero-Knowledge Proofs ก็ถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างสมดุลระหว่างความโปร่งใสและความปลอดภัย และยังเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่คำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้มากขึ้นในอนาคต